มัดรวม 100 เรื่องที่คนทำงานต้องรู้ จากงาน PPC2024

Last updated on เม.ย. 17, 2024

Posted on เม.ย. 4, 2024

📌 มัดรวม 100 เรื่องที่คนทำงานต้องรู้ จากงาน PEOPLE PERFORMANCE CONFERENCE 2024 โดยสปีคเกอร์หลายท่านภายในงาน

1. ปี 2027 ทักษะ 44% จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป มีสิ่งที่อยู่ และต้องมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป

2. ปี 2030 งานที่เป็นตระกูล Text จะหายไปเยอะ เพราะถูก AI ทำแทน เช่น บัญชี, กฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่างานนั้นจะไม่มีคนทำ

3. สำหรับคนที่พัฒนาตัวเองไม่ทัน ทางออกคือจะต้องเปลี่ยนสายงาน ซึ่งสายที่ยังไม่โดนผลกระทบในปี 2030 คือกลุ่มอีคอมเมิร์ซ, พลังงานสะอาด และการแพทย์

4. ในปี 2030 จะมีตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขึ้นมา 69 ล้านตำแหน่งงาน และ 83 ล้านตำแหน่งจะหายไป

5. ยิ่งโลกเปลี่ยนไว ก็ยิ่งแตกต่างมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ทำให้เกิด Generation Gap

6. ทักษะการทำงานร่วมกับคนต่างรุ่น จะเป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญในการทำงานยุคนี้

7. วันนี้ถ้าใครสามารถใช้ Generative AI ได้ องค์กรก็พร้อมจะจ่ายเงินให้เพิ่มถึง 30% - 40%

8. 17 ล้านตำแหน่งงานมีความเสี่ยงที่จะถูกแทนที่ในปี 2030

9. กลุ่มทักษะ Cognitive Skills ทักษะทางด้านการคิด คิดเรื่องซ้ำซ้อน และสร้างสรรค์ได้จะเป็นทักษะสำคัญ
- Analytical Thinking
- Creative Thinking

10. กลุ่มทักษะ People Skill ทักษะที่เกี่ยวกับคน และการเข้าใจคน จะต้องโฟกัสมากขึ้น
- Self-Awareness
- Leadership
- Lifelong Learning
- Resilience
- Empathy

11. กลุ่มทักษะ Technology Skills ทักษะเข้าใจเทคโนโลยี ก็จำเป็นในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาทำงานร่วมกับคนมากขึ้น
- Design and User Experience
- AI & Big Data
- Technological Literacy

12. คนทำงานยุคนี้ต้องการ Work-life balance ต้องการความยืดหยุ่นที่ Custom ได้ ไม่ว่าจะเป็นการยืดหยุ่นของชีวิต และเวลา

13. การแข่งขันทำให้องค์กรต้องจ้างคนมากขึ้น จ้างคนที่สกิลมากกว่าเดิม ซึ่งคนที่ได้รับเลือกไม่ใช่คนที่เก่งตอนนี้ แต่มีแนวโน้มที่จะสามารถต่อยอดสกิลในอนาคต

14. Organization and people analytics คือสิ่งที่องค์กรจะเข้ามาดูว่าอะไรที่จะเปลี่ยนแปลง รูปแบบของออแกไนซ์จะเป็นอย่างไร ฉะนั้นแล้วการจัดการคนต้องมาพร้อมกับ Empowerment

15. การประเมินพนักงาน ที่ประเมินจาก KPI ต้องถามตัวเองให้ดีว่าเราจะให้เขาเติบโตด้วยอะไร

16. เรื่องของเงินอย่างเงินเดือน ยังเป็นจุดที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน

17. Talent Management จะกลายเป็น New normal ซึ่งจะโฟกัสที่ศักยภาพ และมีการยืดหยุ่นตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องรอเวลา Promote

18. อีก 5 ปี GenY จะเป็นผู้บริหาร และ GenZ จะเป็นกลุ่มลีดเดอร์แถวหน้า

19. ภายในปี 2028 องค์กรกว่า 92% จะใช้ AI ภายในองค์กร โดยเฉพาะคนที่ทำตำแหน่งประเภท Business Support จะต้องใช้ AI มากขึ้น

20. Value ไม่เท่ากับ Dream Job (อาชีพในฝัน) มันเป็นสิ่งที่ยากในยุคนี้ บางครั้งเราอาจจะไม่ได้อาชีพในฝัน

21. อย่าทำให้ Generation Gap กลายเป็น War คือต้องทำให้องค์กรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนทุกรุ่น

22. ต่อไปลีดเดอร์ต้องพูดให้ชัด ฟังให้กว้าง คือถ้าเราอยู่ในจุดผู้บริหารองค์กร บางครั้งคำพูดของเราก็มักถูกนำไปใช้ในหลายบริบท

23. การจะนำให้เป็น เราต้องนำข้อมูลมาตัดสินใจ และชัดเจนจริง ๆ ถือเป็นชาเลนจ์อีกเรื่องของผู้นำยุคใหม่

24. ทรัพยากรที่สำคัญมาก ๆ คือ ‘เวลา’ มองความล้มเหลวให้เป็นเรื่องปกติ ลุกมาได้เร็วเท่าไหร่ ก็ทำเรื่องใหม่ได้เร็วเท่านั้น

25. คนทำงาน Gen Z มองว่าปัจจุบันสำคัญที่สุด จะทำงานที่ตรงไหนก็จะมองว่า ถ้าไปทำแล้วก็ต้องมีความสุขด้วย

26. เดี๋ยวนี้คนส่วนใหญ่จะมองความสำเร็จในระยะสั้น ไม่รอผลประกอบการ ไม่รอโบนัส ถ้าไม่มีความสุขก็สามารถลาออกได้

27. วัฒนธรรมการทำงาน เราควรทำงานในหน้าที่เราให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เดือดร้อน ไม่ว่าจะทำงานตำแหน่งอะไร เราควรมีเป้าหมายเดียวกันเพื่อให้ทีมชนะ

28. สื่อสารให้ชัดเจนว่า เป้าหมายของบริษัทคืออะไร ซึ่งควรสร้าง Culture และ Core Value เพื่อให้มันสอดคล้องกับวิถีของบริษัท เพื่อให้คน Engage กับองค์กร

29. การจะทำให้คนในองค์กรรักกัน ต้องสร้างพื้นที่ให้พนักงานปล่อยของ ให้เขาเห็นเป้าหมายเดียวกันกับเรา

30. องค์กรต้องสร้างพื้นที่ให้คนรู้สึกว่ามันมีสังคมการพูดคุย ให้ความสำคัญกับคนอื่น มีพื้นที่ให้ระบายไอเดีย

31. ถ้าอยากจะ Survey พนักงานต้องดูว่าองค์กรมีอะไรที่ เป็น Benefit สูงสุด ที่องค์กรอื่นให้ไม่ได้

32. ถ้าจะทำ EVP ต้องโฟกัสเรื่อง Material offering, Connection and community, Growth and developments และ Meaning and purpose

33. องค์กรจะสร้าง Purpose อย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้าง Engagement และจะทำให้เกิด Experience ได้

34. หัวใจตรงกัน จะทำให้คนอยู่ด้วยกันได้ยาว ๆ

35. เมื่อก่อนการดูแลพนักงานกระจายไปหลายเรื่อง แต่ถ้าเรามีแพลตฟอร์ม HR ก็จะรวมทุกข้อมูลเอาไว้ในที่เดียว

36. Imposter Syndrome คือความพร่องของความมั่นใจ แล้วทำให้ความสมดุลเสียไป ท้ายที่สุดคือการติดลูปไม่สมดุล ฮอร์โมนมันต้องบาลานซ์กัน ถ้าเราไม่สามารถจัดการ Routine นั้นได้ ก็จะนำไปสู่การเป็น Imposter Syndrome

37. สมดุลที่ว่า คือทุกอย่างที่ขับเคลื่อนด้วยฮอร์โมน ร่างกายเราถูก Pre-Program เป็นชุด ๆ ถ้าคนที่ใช้เป็น ก็จะขับเคลื่อนความสมบูรณ์ได้ไม่มีขีดจำกัด แต่ถ้าไม่เข้าใจก็จะติดขัด

38. เราต้องเข้าใจ 4 สารแห่งความสุขคือ
- โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมน “รู้สึกดี”
- เซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมน “คนพิเศษ”
- ออกซิโทซิน (Oxytocin) ฮอร์โมน “แห่งความรัก”
- เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ฮอร์โมน “สารแห่งความสุข”

39. เมื่อรู้ว่าไม่เก่ง เราก็ต้องทำตรงข้าม ถ้าให้แนะนำแบบจอมยุทธ์ คือ Lifestyle เราหยิน เราต้องเพิ่มสภาพหยางเข้าไป คล้าย ๆ กับ การอยู่บ้านเป็นหยิน และการออกสังคมเป็นหยาง

40. หากเราเจอคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอ คีย์สำคัญคือ ‘ช่างสังเกต’ และต้องมี Empathy สูง ๆ ดังนั้นอะไรที่เป็น One size fit all เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

41. สถิติที่น่าสนใจจาก Gallup คนส่วนน้อยกว่า 23% รู้สึกอินกับการทำงาน แต่คนส่วนใหญ่กว่า 77% ที่เหลือกลับแค่อยากทำงานไปวัน ๆ

42. สำหรับการเป็นลีดเดอร์ใหม่ที่พึ่งเข้าไป เรื่องสำคัญเรื่องแรกคือการลงไปฟังพนักงาน เพื่อที่จะหาในสิ่งที่เราทำได้เพื่อช่วยพวกเขา

43. Workforce Management ในอนาคตต้องวิเคราะห์ความต้องการของพนักงานในระยะสั้น และระยะยาวทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ

44. องค์กรต้องเน้นการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ความคิดสร้างสรรค์ และการปรับตัวควบคู่ไปกับความสามารถทางเทคนิคเฉพาะด้าน

45. องค์กรต้องส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งระหว่างทีม และแผนกต่าง ๆ

46. ต่อไปองค์กรต้องให้รางวัลกับคนที่มี Performance ที่ดีมากกว่าเรื่องของความ Senior หรือตำแหน่งหน้าที่การงาน

47. HR / องค์กร สามารถใช้ AI ในการวิเคราะห์เพื่อช่วยดึงดูด Talent เข้ามาในองค์กรได้

48. เวลาต้องตัดสินใจเรื่องยาก ๆ เราต้องชั่งน้ำหนักดี ๆ เพราะการตัดสินใจด้วยข้อมูล ไตร่ตรองให้เป็น รับฟังคนรอบข้าง และตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด ถือเป็นชาเลนจ์อีกเรื่องของผู้นำยุคใหม่

49. TCP สร้าง Engagement ในองค์กรโดยเริ่มจาก Culture “รุก บวก สุดพลัง” และมี Energizing space พื้นที่ให้ได้ปล่อยของใหม่ ๆ

50. หัวใจหลักของ EVP คือ การสร้าง Proposition ให้พนักงานเห็นค่าของการทำงานในบริษัท และสร้างความพึงพอใจในการทำงานในระยะยาว

51. 3 หัวใจหลักของการสร้างองค์กรให้คนอยากทำงานด้วยแบบ TCP คือ Purpose, Engagement และ Experience

52. การอยู่กันแบบครอบครัว มักจะเกรงใจกัน ไม่กล้าพูด Feedback ใส่กัน เราควรทำงานแบบ Sport Team

53. ถ้าจะดึงคนกลับเข้ามาในออฟฟิศ ต้องสร้างพื้นที่ให้พนักงานมีความสุข จนอยากกลับเข้ามาเซฟในเรื่องของกายใจ และความมั่นคงทางการเงิน

54. พนักงานต้องการความปลอดภัยทางความคิด ทำยังไงให้เขาอยู่ในองค์กรแล้วกล้าคิดกล้าทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการมาก ๆ

55. ในปี 2012 นักวิจัยของทีม Google ได้ค้นพบว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ทีมประสบความสำเร็จ คือ “Psychological Safety”

56. การสร้างความเชื่อมีความสำคัญ และเป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร เพื่อเอื้อต่อสภาพแวดล้อมในองค์กร

57. การใส่ใจคนทำงาน สังเกตคนให้มากขึ้น เพื่อเข้าใจกัน ตัวองค์กรต้องทำให้เกิด Believe และเกิด Safety ทั้งทางด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ตลอดไปจนถึงการทำงาน

58. บรรยากาศของความปลอดภัยจะทำให้ Innovation เกิดขึ้น และอยากทำสิ่งใหม่

59. มีช่วงหนึ่งที่คนลาออกเยอะมาก เพราะเขาอยากรักษาตัวเอง รักษาสิ่งที่สำคัญกว่า

60. ตอนนี้ภาพรวมเศษฐกิจไทยมีความผันผวน คนไทยผ่อนบ้านแพงขึ้น ตอนนี้ดอกเบี้ยแพงขึ้น คนรีไฟแนนซ์มากมาย ซึ่งการที่ข้าวของแพงขึ้น เราจะพบว่าเงินเฟ้อเยอะมาก ทำให้มูลค่าการเข้าถึงสินค้าลดลง

61. ประโยชน์ของความปลอดภัยทางจิตใจ คือ
- 76% มีส่วนร่วมมากขึ้น
- 74% เครียดน้อยลง
- 67% อยากทำงานร่วมกัน
- 57% มีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น

62. Psychological Safety สร้างได้ด้วยความเข้าใจระหว่างกัน นำไปสู่การทำสิ่งใหม่ ๆ ของคนในองค์กร ทำให้มีผลงานที่มีประสิทธิภาพกลับมาสู่องค์กร

63. Psychological Safety ต้องมี Empathy, Trust และ Inclusion

64. Psychological Safety ทำให้เกิด Innovation, Agility และ Effectiveness

65. วิธีการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในองค์กรเปลี่ยนความเชื่อแบบเดิม ๆ ต้องเปลี่ยนวิธีการ react แบบเดิม ๆ ต่อปัญหา และข้อผิดพลาด

66. บทบาทของคนที่จะสร้างพื้นที่ปลอดภัยในองค์กร
- Leader (ตระหนัก / ผลักดัน / เห็นคุณค่า)
- HR (​​ปกปักรักษา / สร้างกติกา / เยียวยา)
- Management (เข้าใจ / ลงมือทำสม่ำเสมอ / เคารพกติกา)
- Professional Employees (ฝึกฝน / ร่วมมือ / เห็นคุณค่า)

67. ในพื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พูดหรือท่าอะไรก็ได้ตามใจ แต่คือการกล้าทำ และแสดงออกเต็มที่ โดยใส่ใจความปลอดภัยทางใจ ของทุกคนเป็นสำคัญ

68. ทุก ๆ 10 ปีมนุษย์จะเจอวิกฤติการเงิน ประมาณครั้งถึงสองครั้ง นั่นทำให้เราต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้รอดสำหรับวิกฤติ

69. หลักการรอด คือ ร.อ.ด - เริ่ม, ออม, ดู

70. เราต้องมี Money Management และรายรับ ต้องมากกว่ารายจ่าย มีเงินสำรอง 6 เดือน เป็นมาตรฐาน

71. อย่าก่อหนี้เกิน 40-50% ของรายรับ หนี้ที่ดีต้องเกิดประโยชน์กับเราในอนาคต อาทิ อสังหาฯ

72. เรามีอิสรภาพทางการเงินได้ แค่พรุ่งนี้ต้องตุย

73. สิ่งที่ต้องมีก่อนอายุ 30 หรือยิ่งมีเร็วมากยิ่งดีนั่นคือ ‘สติ’ เราควรมีสติรู้ตัวว่าควรทำอะไร และรู้ตัวว่าอะไรที่ทำให้เรารอด มันพาไปสู่การเงินที่ต้องการหรือเปล่า

74. 4 ข้อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตการทำงาน
- Distributed Workforce = การกระจายสำคัญไปสู่ส่วนต่าง ๆ
- Productivity not attendance = ผู้คนต้องการชีวิตส่วนตัวมากกว่าการ Productive
- Support Gig Work= สมทบพนักงานในองค์กรด้วยพนักงานภายนอกที่จะเข้ามาอุดรูรั่ว
เป็นคนที่เข้าสมทบ ด้วยการใช้ Workforce
- Continuous Development & Feedback = มีการพัฒนา และให้ข้อเสนอแนะกับพนักงานอย่างต่อเนื่อง

75. องค์กรควรมี Human Management Platform ซึ่งช่วยดูแลพนักงานอย่างเต็มที่ เพราะถ้าเราดูแลคนของเราได้อย่างมีความสุข พนักงานก็จะส่งต่อความสุขนั้นไปที่องค์กร และลูกค้าด้วยเช่นกัน

76. ESG มันเป็นเรื่องของการบริหารคนไปสู่ความยั่งยืน มันไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะการทำ ESG นั้นจะทำให้องค์กรสามารถ Represent การเป็นองค์กรแห่งยุคออกมา

77. XR Reality คือการรวมกันของ AR และ VR โดยเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถเข้าร่วมประชุมในพื้นที่พิเศษที่สามารถเห็นคนในรูปแบบ Virtual ได้

78. กลยุทธ์การทำงานยุคนี้ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องมีเรื่อง Data เป็นสิ่งสำคัญ เพราะองค์กรสามารถขับเคลื่อนการทำงานด้วยการใช้ Data

79. “The Stoic Triangle” ถ้าเราสร้างกรอบสามเหลี่ยมในการใช้ชีวิตได้ เราจะสร้างชีวิตที่ดีที่สุดได้ เหมาะมากกับความสุขในระยะยาว

80. เราเชื่อว่าถ้าเราอยากเป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุด ต้องฝึก 4 Skill นี้
- นกฮูก (Wisdom) ความรู้คืออิสรภาพที่แท้จริง
- สิงโต (Courage) กล้าหาญ กล้าที่จะทำสิ่งที่ดี
- มนุษย์ (Justice) ความเห็นอกเห็นใจ ยึดมั่นในความถูกต้อง
- วัว (Moderation) การควบคุมตนเองไม่เยอะไม่น้อยจนเกินไป

81. ถ้าความรู้คือพลัง ความเขลาคือสิ่งที่ต้องก้าวข้าม / ถ้าความกล้าหาญคือเราต้องการ ขี้ขลาดก็ตรงข้าม /ถ้าเห็นอกเห็นใจ ตรงข้ามคือไม่พอประมาณ

82. ถ้าเราเลือกถูกเราจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งตัวสำคัญที่สุดคือ Justice เพราะจะช่วยให้ดูแลซึ่งกัน และกันได้

83. Good Heart / Fairness / Public Service การให้มากกว่าคนรับ มันทำให้ Relation ดีขึ้น

84. คาแรกเตอร์คือสิ่งที่จะสร้างขึ้น แต่ Stoic ทำให้เราไม่โฟกัสเรื่องการสร้างคาแรกเตอร์ แต่ให้เห็นถึงธรรมชาติ

85. โลกจะเสียงดังหรือไม่ดัง มันอยู่ที่เราควบคุม ในมุม Stoic เราสามารถมีความสุขวันนี้ได้เลย ถ้ามีจิตใจที่แข็งแกร่งขึ้น

86. คิดให้ดีว่าถ้าเราทำทุกอย่างในแบบที่อยากทำ ชีวิตจะมีความสุขจริงหรือเปล่า หรือถ้าไม่มีกรอบความคิดเราจะมีความสุขขึ้นไหม

87. ถ้าวันนี้เจอโชคร้าย แต่เราโทษทุกอย่าง นี่คือสัญญาณคนที่ควรได้รับการศึกษา เพราะ Stoic จะไม่โทษปัจจัยภายนอก เราไม่จำเป็นต้องแคร์ แต่ทำให้ดีกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า

88. 5 ความท้าทายเมื่อเราต้องการขยาย Startup
- การได้รับเงินลงทุนจำนวนมาก
- การบรรลุเป้าหมายระยะยาว
- การจัดการกับ Data มากมายที่เพิ่มขึ้น
- ยังเผลอทำ Micro management
- การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร

89. องค์กรควรจัด Town Hall ด้วย Agenda 4 เรื่องใหญ่ โดยมี Strategy, Financial, OKRs และ Organization

90. 3 วันสำคัญที่องค์กรควรจำมีอยู่เป็นประจำ เพื่อให้เกิดผลดีต่อการสื่อสาร
- วันปฐมนิเทศ
- วัน Town Hall
- วันที่นัดรวม Meeting ของทุกคน

91. วิธีละลายพฤติกรรมที่ได้ผลคือการส่งเสริมให้พนักงานได้รู้จักทีมอื่น ซึ่งสามารถทำได้ด้วย Activity

92. เทคนิคการสร้าง Culture คือหลักการ A-E ที่ช่วยให้พนักงานทำตามความคาดหวังขององค์กรในช่วง Probation (อ่านต่อในข้อ 93-97)

93. A - Account Ability & Trust ไม่ตามงาน แต่จงให้อิสระในการทำงานด้วยความรับผิดชอบ หา OKR ให้เจอ ต้องดูว่าสำเร็จของเราเป็นยังไงคุยกันให้ชัด

94. B - Boundaryless สิ่งที่เราจะบอกเพื่อนร่วมงานนั้น เพื่อนไม่ต้องทำก็ได้ แต่ต้องเป็นสิ่งที่เรายินดีจะบอกให้กัน

95. C - Customer First เวลาใครให้เราทำอะไร หน้าที่ของเราคือต้องถามว่าทำไมต้องทำ ทำแล้วลูกค้าได้อะไร

96. D - Data Driven โฟกัสที่ลูกค้า และต้องเอา Fact มาคุยกัน ไม่ใช่เพียงแค่ Opinion

97. E - Enjoy the Moment เราควรเอ็นจอยช่วงเวลานี้ให้ดีที่สุด อย่าไปคิดถึงอนาคตที่มากเกินไป เพราะเราไม่รู้ว่าอีก 10 หรือ 20 ปีองค์กรเราจะเป็นแบบไหน จงหาโมเมนต์ที่เราเอ็นจอย

98. จากเดิมสมการองค์กรของเราจะต้องมีพนักงานประจำ และพนักงานนอก แต่พอมี AI เข้ามา จะ Disrupt ในกลุ่มของพนักงานนอกก่อนอย่างแน่นอน

99. The purpose of life is to discover your gift. The work of life is to develop it. The meaning of life is to give your gift away. - David Viscott

100. องค์กรในประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับคนทำงานมากกว่าเดิม ต้องมองในมุมของพนักงานมากขึ้น ว่าพวกเขาต้องการอะไรในชีวิต ซึ่งองค์กรต้องทำทุกอย่าง ด้วยจุดประสงค์เดียว คือการรักษา Talent ไว้ในองค์กรให้นานที่สุด

trending trending sports recipe

Share on

Tags