ทำไมหัวหน้าชอบบอกว่า ‘เธอทำได้’

10 เบื้องหลังจิตวิทยา The Pygmalion Effect ที่ผู้นำระดับโลกไม่เคยบอกคุณ

Last updated on ก.พ. 4, 2024

Posted on ต.ค. 2, 2023

จิตวิทยานี้อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด

จิตวิทยาที่มีชื่อว่า The Pygmalion Effect คือปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่เกิดจากการคาดหวัง หรือการปักใจเชื่ออะไรบางอย่างที่มีความเชื่ออันแรงกล้า จนนำไปสู่ความจริง เช่น

🤔 พนักงานคนนี้มีแววจะเติบโต คนเป็นหัวหน้าจึงพูดโน้มน้าวให้เขาเก่งขึ้น และในที่สุดพนักงานคนนั้นก็เก่งขึ้นจริง

🤔 เวลาเราเหนื่อย เราท้อกับงานที่ทำ แต่พอมีคนมาให้กำลังใจ ว่าเธอทำได้นะ เธอสามารถทำมันได้ดีอย่างแน่นอน เราที่ตอนนั้นท้อแท้แต่อยู่ ๆ ก็มีพลังที่จะทำได้ และทำจนสำเร็จ

🤔 หรือตัวอย่างที่ชัดมาก ๆ อย่าง Barack Obama สร้างแรงบันดาลใจให้ชาวอเมริกันเลือกประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ เพราะผู้คนเชื่อว่าเขามีคุณสมบัติมากพอ เกิดจากความเชื่ออันแรงกล้าของผู้คนจำนวนมาก

🤔 หรือจะเอาให้ใกล้ที่สุดคือการเลือกนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ผลการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครเลือก ‘พรรคก้าวไกล’ ทุกเขตการเลือกตั้ง ก็เป็นผลจากการที่เราเชื่อว่า พรรคก้าวไกลจะสามารถทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าต่อไปได้

จะเห็นได้ว่าคำพูดสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องเล็ก ๆ ไปสู่เรื่องใหญ่ได้ เพราะการสร้างความคาดหวังให้กับคนที่เราหวังดี และเขามีแววจะเติบโต มีพลังในการทำนายให้เป็นจริงได้ โดย Pygmalion Effect เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนบรรลุเป้าหมายที่ดีที่สุดของตนเอง เป็นเครื่องมือที่ผู้นำโลกสามารถใช้เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้นั่นเอง


งานวิจัยทฤษฎี The Pygmalion Effect

The Pygmalion Effect คล้ายกับการ ‘ทำนายอนาคต’ ว่าสิ่งเหล่านั้นมีความเป็นไปได้จะเกิดขึ้นจริง โดยมีที่มาจากการศึกษาในรายงานเมื่อปี 1968 - 1992 ซึ่งจัดทำโดย Robert Rosenthal และ Lenore Jacobson พวกเขาแสดงให้เห็นว่า ครูที่สามารถสื่อสารกับนักเรียนด้วยการโน้มน้าวด้วยความคาดหวังสูง ส่งผลให้นักเรียนมีความเป็นเลิศในแต่ละวิชาสาขาที่แต่ละคนถนัด เพียงเพราะนักเรียนถูกคาดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่า! เด็กเหล่านี้เก่งขึ้นมาได้จากการถูกกระตุ้นอย่างถูกจุด รวมไปถึงยังนำไปใช้กับนักกีฬาเพื่อปั้นและพัฒนาให้เป็นนักกีฬามืออาชีพ


หนึ่งในเทคนิค Pygmalion Effect ที่น่าสนใจจากผู้นำระดับโลก

Henry Ford ผู้ก่อตั้งบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ เชื่อมั่นว่าความคาดหวังที่มากพอ จะสามารถกระตุ้นให้พนักงานเพิ่มประสิทธิภาพได้ เขาคือผู้สร้าง Ford แบรนด์รถยนต์ที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยครอบครัวของ Henry Ford เขาเป็นผู้อพยพจากโปแลนด์ มาอยู่ในสหรัฐอเมริกา แต่ด้วยความโชคดีที่ครอบครัวสนับสนุนเรื่องการศึกษา แม้ฐานะทางบ้านจะไม่ได้ร่ำรวย แต่การที่คุณพ่อ คุณแม่ของ Henry Ford สนับสนุนเรื่องนี้มาก ๆ จนทำให้เขาเรียนจบมหาวิทยาลัย และเปิดบริษัทเป็นของตัวเองได้สำเร็จ

Henry Ford เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขารักมาก ๆ เมื่อเรียนจบก็เริ่มศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่เขารัก ในช่วงปลายปี 1929 เขาเริ่มผลิตเครื่องยนต์ V8 ซึ่งมีลูกสูบวางข้างละ 4 ลูก ซึ่งเป็นเครื่องยนต์เข้ารูปหากันเป็นรูปตัววี โดยครั้งนั้นได้สั่งให้วิศวกรที่ดีที่สุด นั่นคือทีมงานของเขา จัดหาอุปกรณ์เครื่องยนต์แปดสูบ (V8) ที่มีอยู่มาให้มากที่สุด เพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการออกแบบ และผลิตเครื่องยนต์ในแบบของตัวเอง

แต่ต้องยอมรับว่าในยุคสมัยนั้นเครื่องยนต์ V8 มีราคาที่แพงมาก ส่วนใหญ่จะพบได้ในรถหรู (brand of luxury) เช่น Cadillac และ LaSalle Ford แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของ Henry Ford เพราะเขาตั้งใจที่จะพัฒนาเครื่องยนต์ V8 ที่สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก และยังคงราคาไม่สูงจนเกินไป โดย ‘ริเริ่มไอเดียให้ทั้งเครื่องยนต์ 8 สูบใน 1 บล็อก’ แต่วิศวกรของเขาจำนวนมากกลับบอกว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างเครื่องยนต์แปดสูบขนาดใหญ่ให้อยู่ในบล็อกเดียวกัน’ แต่เพราะจุดนี้แหละที่ Henry Ford มองเห็นความเป็นไปได้และยืนยันกับทีมงานทุกคน ว่าผลิตมันออกมาเถอะ เพราะวิศวกรของผมเก่งที่สุด และดีที่สุดในอุตสาหกรรมนี้

ด้วยแรงศรัทธาอันแรงกล้าและรู้ศักยภาพของทีมงานว่าสามารถทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เกิดขึ้นได้จริง โดยคุณ Henry Ford ได้พูดคุยกับวิศวกรทุกคน แม้การจะทำเครื่องยนต์ V8 จะเจออุปสรรคมากมายก็ตาม ซึ่งไม่ได้สำเร็จตั้งแต่วันแรก เดือนแรก จนเวลาล่วงเลยผ่านมา 1 ปีเต็ม ทุกครั้งที่คุณ Henry Ford เห็นวิศวกรของเขา ในฐานะผู้นำก็มักจะเชิดชูในความก้าวหน้าทีละเล็ก ทีละน้อย ผลักดันให้พวกเขาคิดนอกกรอบ และเชื่อมั่นในทีมงานทุกคนว่าพวกเขาเหล่านี้สามารถทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกใบนี้ ให้เกิดขึ้นจริง

ในที่สุดเดือนพฤศจิกายน ปี 1930 วิศวกรทั้งหมดก็ทำสำเร็จ เครื่องยนต์ 8 สูบใน 1 บล็อก เกิดขึ้นจริงในโลกเราแล้ว และได้กลายเป็นตำนานที่ผลิตให้กับรถ Ford Mustang ที่กลายเป็นขวัญใจวัยรุ่นอเมริกัน


ความสำเร็จเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจาก Pygmalion Effect เพียงอย่างเดียว

แต่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ อย่างสภาพแวดล้อมการทำงาน, การสนับสนุนภายในครอบครัวของวิศวกรแต่ละท่าน, ประสบการณ์ชีวิต, การศึกษา แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่ทำให้ Pygmalion Effect สามารถหล่อหลอมคนให้เป็นหนึ่งเดียวกันเกิดจาก

🎯 Show Respect for Working People
Henry Ford แม้จะเป็นเจ้าของบริษัท แต่ไม่เคยบีบบังคับให้พนักงานทำเรื่องที่ยากขนาดนี้ แต่เขาใช้เป้าหมายที่ใหญ่มากพอ เป็นตัวขับเคลื่อน สร้างความภักดี ความมั่นใจ และความเชื่อว่านวัตกรรมนี้จะเกิดขึ้นได้จริง เราผลักดันให้คนทำงานเก่งได้ แต่เราต้องให้เกียรติในองค์ความรู้ของพนักงาน, ความสามารถการทำงาน และยกย่องในวันที่เขาสำเร็จเช่นกัน

🎯 Stretch Goals
คือการตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเป้าหมายทั่วไป ซึ่งเป็นการตั้งเป้าเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ Henry Ford เปิดโอกาสให้พื้นที่กับคนทำงานได้แสดงศักยภาพอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้คนที่ขาดความมั่นใจสามารถแสดงศักยภาพได้ ในฐานะผู้นำต้องสามารถกระตุ้นให้พนักงานเกิดความหวัง เห็นเป้าหมายเดียวกัน เพื่อใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ด้วยทัศนคติเชิงบวกไปพร้อม ๆ กัน

🎯 Fail Forward
ในฐานะผู้นำจะทำอย่างไรให้ ‘ล้มแล้วลุกให้ไว’ เพื่อไปข้างหน้าสู่เป้าหมายถัดไป Henry Ford ไม่เคยตำหนิทีมงานของเขา เพราะการตำหนิ หรือลงโทษในความล้มเหลวไม่ใช่วิธีที่สร้างสรรค์ แต่ผู้นำต้องเปลี่ยนวิธีคิดและเล็งเห็นถึงความกล้าหาญ ที่เขาได้กล้าลอง กล้าทำ ลองผิดลองถูกมานับไม่ถ้วน ซึ่ง Henry Ford เลือกที่จะชื่นชม ให้กำลังใจ และมอบบทเรียนล้มได้ แต่ต้องลุกให้ไว เพื่อหา Solution ให้ทีมงานได้พัฒนาต่อไป

🎯 Strive to Develop a Positive
Henry Ford รู้อยู่แล้วว่าการจะพัฒนานวัตกรรมที่เป็นไปไม่ได้มันยากมาก แต่เหนือสิ่งอื่นใด Mindset ของเขาพร้อมที่จะ ‘Can Do’ มันต้องทำได้ มันต้องเป็นไปได้ และไม่มีความคิดเชิงลบ หรือมองโลกในแง่ร้ายออกมาให้ทีมงานได้เห็น เพราะเมื่อไหร่ที่เราส่ง Negative thoughts หรือความคิดเชิงลบให้กับทีมงาน พวกเขาจะหงุดหงิด สูญเสียพลังบวกในการสร้างสรรค์ และจะส่งผลเสียต่อองค์กรในที่สุด

🎯 Frequently Provide ONE-TO-ONE
อย่างน้อย ๆ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในฐานะผู้นำควรมีการพูดคุยกับพนักงานแบบ 1 ต่อ 1 ซึ่ง Henry Ford ก็ไม่เคยให้พนักงานทำไปแบบไม่มีเป้าหมาย เขาสังเกตพนักงานอยู่เสมอ ทุกครั้งเขาจะมุ่งเน้นให้ feedback เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แทนที่จะโทษจุดอ่อนของพนักงาน แต่ผู้นำที่ดีควรแก้จุดอ่อน และหาเวลาคุยกันแบบส่วนตัว เพื่อพัฒนาจุดแข็งให้กับทีมงาน

🎯 Provide Professional
การส่งเสริมให้ลูกทีมสามารถเติบโตได้มากขึ้น ไม่ใช่แค่การให้คำแนะนำจากหัวหน้าเท่านั้น แต่การจัดหาคอร์สเรียน, ฝึกอบรมต่าง ๆ เมื่อผู้นำรู้ว่าลูกทีมขาดอะไร ก็สามารถเติมเต็มความสามารถเฉพาะจุดได้เช่นกัน และยังเป็นการโน้มน้าวด้วย Pygmalion Effect เพื่อให้เขาอัปสกิลใหม่ ๆ หรือต่อยอดความสามารถที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้น

🎯 Employee to Play a Mentoring Role
Pygmalion Effect ไม่ได้ใช้แค่ให้พนักงานเกิดความคาดหวังที่จะเก่งขึ้นในสกิลนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว แต่สามารถส่งต่อเพื่อให้ พนักงานด้วยกัน สามารถรับบทบาทเป็นที่ปรึกษา หรือคนคอยให้คำแนะนำพนักงานด้วยกันเองได้ ในฐานะผู้นำหากเราเฝ้ามองคนที่จะเติบโตขึ้นมาได้ นี่คือโบนัสอันยิ่งใหญ่ที่ลูกทีมคนนั้นจะเติบโตเป็นผู้นำคนถัดไป

🎯 Engage and Talk With Your Employees
เรื่องนี้ผู้นำหลายคนมักจะตกม้าตายกันซะเยอะ เพราะจิตวิทยา Pygmalion Effect เกิดจากการพูดคุยเป็นอันดับต้น ๆ คุณต้องหาเวลาให้ได้บ่อยที่สุดในการมาพูดคุย สื่อสาร เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน คุณ Henry Ford ไม่ได้สร้างความเป็นไปได้ให้กับพนักงานเพียง 1-2 วัน แต่เขาลงไปอยู่ด้วยกันกับพนักงาน มองเห็นว่าทุกคนชื่ออะไร รู้สึกอย่างไร ใส่ใจทุกมิติเพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกัน และข้อดีกว่านั้นคือพนักงานก็จะกล้าพูดคุย ลดเขตแบ่งกั้นระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องได้

🎯 Create Aggressive, but Reasonable Project Deadlines
โปรเจกต์ที่ดีควรมีกำหนดการที่ชัดเจน เมื่อเราสร้างพื้นที่ให้กับพนักงานแล้ว อย่าลืมสร้างกรอบเวลาเพื่อหาจุดที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เรื่องนี้มีผลทั้งในแง่ของ ขอบเขตงาน, งบประมาณ, ทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรในการทำงานทั้งหมด ผู้นำที่ดีควรมีกรอบให้คนทำงานอย่างชัดเจน และสามารถปรับความยืดหยุ่นในการทำงานระหว่างทางได้

🎯 Be a Role Model of Positive
ลองคิดภาพตามว่า Role Model ความเป็นผู้นำของคุณคือใคร ?
การเป็นผู้นำที่คิดบวก ไม่ได้หมายถึงผู้นำที่อ่อนต่อโลก แต่เขารู้จักการวางตัวให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ การให้ความสำคัญกับจิตใจของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าหากเราในฐานะผู้นำอ่อนแอ จะเหมือนที่สุภาษิตของคนต่างชาติเขาบอกไว้ว่า

A frightened captain makes a frightened crew - กัปตันที่หวาดกลัว จะทำให้ลูกเรือหวาดกลัวเช่นกัน

เหตุเพราะ Pygmalion Effect มักจะขึ้นตรงต่อทัศนคติ และจิตใจของคนที่พูด ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสียในเวลาเดียวกัน อย่างสุภาษิตของกัปตันคนนี้มีทัศนคติเชิงลบ เหตุเพราะหวาดกลัวต่ออุปสรรคที่พบเจอ เมื่อกัปตัน หรือผู้นำยอมแพ้ จิตวิทยา Pygmalion Effect ก็จะส่งผลต่อคนรอบข้าง ผ่านทัศนคติของผู้นำ ผ่านการทำกระทำของผู้นำ และผ่านคำพูดของผู้นำ


ดังนั้นหากอ่านครบ 10 ข้อนี้ และสามารถทำได้ทั้งหมด คุณก็สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก ผลักดันความเป็นไปไม่ได้ ให้เกิดขึ้นจริง หวังว่าเคล็ดลับจาก The Pygmalion effect จะช่วยเสริมไอเดียใหม่ ๆ เพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจของทุกคนน๊า


แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags