ความอ่อนแอในใจ ที่ลีดเดอร์หลายคนไม่ยอมบอกใคร ทำไมผู้นำถึงรู้สึกเสียใจทีหลัง กับบางสิ่งที่ตัดสินใจไปแล้ว

ถึงภายนอกจะไม่แสดงอะไร แต่ข้างในก็รู้สึกจุกอกอยู่ใช่ไหม 🙁

Last updated on ต.ค. 26, 2023

Posted on ต.ค. 22, 2023

ความรับผิดชอบในฐานะผู้นำ คือสิ่งที่เกาะอยู่บนบ่าอันหนักอึ้งของหัวหน้าทุกคน ในแต่ละวันต่างมีเรื่องน่าปวดหัวมาให้เราตัดสินใจมากมาย แล้วไอ้การตัดสินใจผิดพลาดนี่ ก็เป็นสถานการณ์ที่ผู้นำหลายคนต้องเผชิญ เราเชื่อเลยว่า ถึงแม้หลายคนจะผ่านเหตุการณ์ที่ผิดพลาดมาแล้ว แต่บางครั้งมันก็เป็นตราบาป หรือความรู้สึกผิดที่ติดอยู่ในใจอยู่ดี

บางคนรู้สึกแย่ที่ทำให้คนเก่งต้องออกจากองค์กรไป บางคนรู้สึกผิดที่ดูแลลูกทีมไม่ดีพอ บางคนก็ทำธุรกิจเสียหาย เพียงเพราะเดินเกมพลาด ซึ่งหลายครั้งตราบาปเหล่านั้น กลายเป็นความรู้สึกที่นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิต

เหตุการณ์มันก็ผ่านไปแล้ว แต่ทำไมเราถึงรู้สึกแย่อยู่ 😞

1. เราให้ความสำคัญกับคนอื่นก่อนตัวเอง

ถ้าเราเป็นผู้นำประเภทที่ทำให้ทุกคนต้องพอใจ บางครั้งมันทำให้เราต้องปฏิเสธความต้องการของตัวเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของคนอื่น ฉะนั้นแม้ว่าจะรู้สึกผิดในการตัดสินใจ แต่เราก็ต้องทำ นั่นทำให้เราเกิดความรู้สึกขมขื่น เมื่อตัดสินใจไปแล้ว

2. ประสบการณ์ร้าย ๆ ในวัยเด็ก

แม้จะบอกตัวเองในใจว่าเราสมควรได้รับสิ่งที่ดีกว่านี้ แต่เรากลับไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยความคิดด้วยสติที่มี ผู้นำหลายคน มีชุดความเชื่อบางอย่างที่มาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก นั่นทำให้เรามองโลกในแง่ร้าย และเรารู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับสิ่งดี ๆ

3. จมปลักอยู่กับความคิดของเหยื่อ

“ถ้าเราเป็นเขา แล้วโดนแบบนั้น เราจะรู้สึกยังไง”
หากเรารู้สึกถึงการถูกความคิดจากคนโดนกระทำมาพูดใส่ จนเก็บเรื่องของเขามาใส่ใจ การถูกเหยื่อมา Convince จะทำให้เราสื่อสารสิ่งที่แย่ออกไป เพื่อให้เราตัดสินใจพลาด

4. ความทุกข์ยากคือคอมฟอร์ตโซน

ถ้าเราเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ปัญหา เราจะพบว่าความยุ่งเหยิง และความทุกข์ก็จะรู้สึกเหมือนเป็น ‘บ้าน’ จนชินชากับความไม่สบายใจ หรือความรู้สึกอันตราย ดังนั้นเราจึงตัดสินใจผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว จนก่อวินาศกรรมจากการความคิดของเราขึ้นมา

ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่อยากให้รู้ไว้ เราทุกคนทำผิดได้ ผู้นำธุรกิจทุกคนต่างเคยทำพลาดในชีวิต ฉะนั้นการยอมรับความเป็นจริง จะช่วยให้เราสามารถเผชิญกับความรับผิดชอบ และหาทางแก้ไขมัน

เมื่อเราทำผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกหงุดหงิด เขินอาย หรือละอายใจ แต่ถ้าเราปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้ขับเคลื่อนการกระทำ เราก็จะไม่สามารถแก้ปัญหา และสื่อสารกับลูกทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“หลังจากที่เรารับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว จงเป็นเจ้าของความผิดนั้น ทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และรีบหาทางเยียวยาหากเป็นไปได้” พันตรี โทมัส ชูแมน นาวิกโยธิน (Marine Corps Maj. Thomas Schueman) ผู้สอนหลักสูตรที่เน้นเรื่องการบาดเจ็บทางศีลธรรม จากโรงเรียนนายเรือสหรัฐฯ กล่าวถึงเหตุการณ์ การเป็นผู้นำกองทหารในการประจำการสองครั้ง โดยเขาสูญเสียลูกทีมบางส่วนในการปฏิบัติการ

หากเกิดข้อผิดพลาดผู้นำไม่ควรอารมณ์เสีย หรือตำหนิผู้อื่น เพราะลูกทีมอาจรู้สึกหงุดหงิด เมื่อเราโยนความผิดให้คนอื่นหรือปฏิเสธที่จะรับผิดชอบต่อปัญหา แม้ว่าการยอมรับข้อผิดพลาด อาจทำให้ผู้นำดูเหมือนมีข้อบกพร่อง แต่เราก็ควรยอมรับมัน และพูดขอโทษออกมา

การขอโทษต่อลูกทีมไม่ใช่เรื่องแย่หรอกนะ เพราะผลวิจัยเรื่องการสำรวจจริยธรรมทางธุรกิจทั่วโลกประจำปี 2019 ของ Ethics and Compliance Initiative ได้บอกว่า พนักงานเชื่อว่าหัวหน้างานโดยตรงของตนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเขาเกิดข้อผิดพลาด เพราะพนักงานเชื่อว่านี่เป็นโอกาสให้หัวหน้าการเติบโตขึ้นกว่าเดิม

ฉะนั้นแล้ว ผู้นำที่ดีที่สุดควรเต็มใจที่จะอ่อนแอ และพูดกับทีมของพวกเขาว่า “นี่คือข้อผิดพลาดที่ฉันทำ และนี่คือวิธีที่เราจะแก้ไขมัน”

ในฐานะผู้นำ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกที่จะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่การตัดสินใจพลาด แต่การทำความเข้าใจสาเหตุ และอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดพลาดเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตส่วนบุคคล


ท้ายที่สุดแล้วจงอย่าลืมขอโทษให้เป็น เพราะความผิดพลาดไม่ได้ทำให้เราดูแย่ แต่จะนำมาซึ่งบทเรียนให้เรารู้สึกเติบโต เอาล่ะจงอย่าจมปลักในสิ่งนั้น แล้วคิดหาทางเยียวยาซะเถอะ ไม่ว่าจะเป็นการเยียวยาคนอื่น หรือกระทั่งเยียวยาหัวใจตัวเองก็ตาม 🤍


แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags