มันไม่ได้ทุกอย่างตามใจนายหรอกนะ - 3 วิธีการรับมือกับค?

Last updated on ม.ค. 9, 2022

Posted on ม.ค. 9, 2022

หนึ่งในโครงสร้างสำคัญของความต้องการมนุษย์ คือการรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ นั้นล้วนเป็นไปได้ดี เราไม่ใช่คนที่ล้มเหลว และโลกใบนี้ไม่ได้เป็นสถานที่ที่เลวร้าย และไม่ว่าอะไรจะพัดผ่านเข้ามาในชีวิตเรา เราสามารถรับมือกับมันได้ทั้งหมด…

ทว่าในความเป็นจริง บางครั้งเราก็เจอกับการวิพากษ์วิจารณ์ต่อหน้า และหลายครั้งต้องเผชิญกับทางเลือกที่ไม่ได้อยากเลือก และบางครั้งก็ต้องรู้สึกผิดหวังกับอะไรบางอย่าง ซึ่งเรามักจะตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้ด้วยการเก็บเอาความคิดในแง่ลบกลับมา

และคนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดเอาว่าการรับมือกับสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัย self-deception หรือการหลอกตัวเอง แต่ความจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะเราสามารถใช้วิธีอื่นที่จะพาตัวเองกลับมาให้ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องรู้สึกจมอยู่กับความเจ็บปวดหรือหาจุดต่อว่าคนอื่น

โดยทั่วไปแล้วเวลาที่เราโดนโจมตีด้วยอารมณ์ความรู้สึกในด้านลบ เราจะรีบมุดตัวเข้าไปหลบในกล่องของตัวเอง แล้วหยิบคว้าอะไรก็ตามที่จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ โดยที่เราไม่ได้ใส่ใจมากนักว่าวิธีการที่เราใช้รับมือกับความรู้สึกเหล่านี้เป็นอย่างไร หรือว่ามันใช่การหลอกตัวเองหรือเปล่า ตราบใดที่มันทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ และฟังดูมีเหตุผลเราก็จะใช้มัน

แม้มันจะมีหลากหลายกลยุทธ์ในการรับมือ และคุณก็ไม่จำเป็นจะต้องเอาสิ่งแรกที่นึกได้มาปรับใช้อยู่เสมอ คุณแทบจะหาสิ่งที่ช่วยปลอบประโลมให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการหลอกตัวเองเลย ถ้าคุณใช้เวลากับการค้นหาวิธีการต่างๆ นานมากขึ้น


แต่สิ่งต่อไปนี้คือกลยุทธ์บางส่วนที่สามารถทำให้ตัวเรารู้สึกดีขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องหลอกตัวเอง

1. เตรียมแผนรับมือเอาไว้

การต้องถามหาบทสรุปว่าสิ่งนี้จริงไม่จริง จะถูกย่นย่อลงเมื่อคุณรู้สึกว่าคุณมีแผนที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ สำหรับสิ่งที่คุณจะทำ เมื่อคำพูดวิพากษ์วิจารณ์หรือคำแนะนำต่างๆ เป็นความจริง

และการร่างโครงสร้างเล็กๆ ของการขอโทษ ก็อาจไม่ได้ใช้เวลาชีวิตคุณมากนัก และเราจะพูดมันออกไปโดยที่ไม่ใช้ความโกรธ ซึ่งเมื่อเราคิดแผนขอโทษได้แล้ว เราอาจกลับไปสู่คำถามตั้งต้นอีกรอบว่า ‘คุณควรขอโทษไหม’ แล้วคำตอบที่ได้มาอาจชัดเจนขึ้น

อาจเป็นแผนการที่เรียบง่ายมากๆ เช่น นี่คือวิธีที่คุณจะอธิบายความผิดพลาดหรือล้มเหลวให้กับคนในทีมฟัง แม้จะเป็นเรื่องแน่นอนว่าเราต้องใช้พลังงาน ในการที่เราจะบอกว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องจริง แต่เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณนั้นมีแผนรับมือที่จับต้องได้แล้ว คุณก็ไม่ต้องไปพึ่งพาการปฏิเสธเพื่อที่จะรับมือกับความเป็นจริงอีกแล้ว


2. มองหาสิ่งดีๆ ให้เห็น

บางครั้งเมื่อเราอยู่ระหว่างการโต้แย้ง เราอาจเริ่มรู้สึกคลางแคลงใจ ว่าเราอาจจะเป็นฝ่ายผิด ซึ่งความรู้สึกนี้จะทำให้เราไม่สบายใจ และผลักความคิดในหัวของเราออกไป พร้อมกับทำให้เราโฟกัสกับการรักษาหน้าตัวเอง

ซึ่งแทนที่จะเป็นอย่างนั้น เราอาจเตือนใจตัวเองถึงสิ่งดีๆ เพราะการยอมรับการโต้แย้งจะทำให้เราได้ประโยชน์ จากการที่เราได้ลงภาคปฏิบัติจริง และสาธิตให้เห็นแล้วว่าเราไม่ได้คิดจะตอบโต้ทุกอย่างหรือต้องเอาชนะทุกสิ่ง แต่มันเป็นการลงทุนในอนาคต ในด้านความสามารถของการโน้มน้าวใจและต่อรอง

เพราะในทุกความผิดพลาดเราอาจได้พบกับสิ่งดีๆ ซึ่งมันเป็นบทเรียนที่เราได้กลั่นกรองจากประสบการณ์ ซึ่งเราสามารถเก็บเป็นวัตถุดิบไว้ใช้ปกป้องหรือเซฟตัวเองจากความผิดพลาดที่คล้ายกันนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

จำไว้ว่า เป้าหมายของข้อนี้ ไม่ใช่การโน้มน้าวตัวเองให้เชื่อว่าจริงๆ แล้วความโชคร้ายของเราคือสิ่งที่ดี เพราะการมองให้เห็นประโยชน์ที่ได้จากประสบการณ์นั้นแตกต่างจากการฝืนมองโลกในแง่ดี


3. โฟกัสกับเป้าหมายที่แตกต่างออกไป

บางครั้งเราอาจยึดติดกับความภูมิใจของตัวเองแบบไม่รู้ตัว จากการที่เราเคยเป็นคนเก่งที่สุดในชั้นหรือในที่ทำงาน ทำให้เวลาที่เราพบเจอกับผู้ที่มีความสามารถมากกว่า จิตใจของเราจะเริ่มรู้สึกไม่ดี หรืออาจทำให้บางคนรู้สึกผิดหวังในตัวเอง ถึงขั้นกระทบกับ self-esteem หรือแม้แต่สะท้อนออกมาในรูปแบบของการหาข้อบกพร่องในตัวผู้อื่น เพื่อปฏิเสธความจริงนั้น

แต่ในความเป็นจริงมันมีวิธีอื่นในการรับมือกับเรื่องนี้ และเพื่อรักษา self-esteem เพราะเมื่อเราตระหนักและเข้าใจกับความจริงที่ว่าเราไม่สามารถจะเป็นคนที่เก่งที่สุดหรือดีที่สุดสำหรับทุกคนหรือทุกองค์กรได้ตลอดไป การรับมือกับเรื่องนี้ จึงอาจเป็นการปรับทิศทางของสิ่งที่ตัวเรานั้นกำลังโฟกัสหรือให้ความสำคัญมาตลอด ผ่านการทบทวนหรือปรับปรุงเป้าหมายของตัวเองเสียใหม่


แทนการยึดติดกับความภูมิใจดั้งเดิมของตัวเองตลอดไป และนั่นจะช่วยให้เรารู้สึกพอใจในตัวเองได้มากขึ้น และช่วยทำให้เรามองเห็นโอกาสใหม่ๆ พร้อมกับได้เติบโตขึ้น


อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจาก ideas.ted

trending trending sports recipe

Share on

Tags