สรุป 7 เทรนด์คนทำงานน่าสนใจจาก CTC FORECAST 2024

ในปีแห่งการประนีประนอมของทั้งองค์กร และพนักงาน

Last updated on ก.พ. 1, 2024

Posted on ม.ค. 27, 2024

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2024 โลกของเรากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบการทำงานแห่งอนาคต เพราะเทรนด์การทำงานในปีหน้าจะเป็นปีแห่งการประนีประนอมครั้งใหญ่ ที่องค์กรกับพนักงานจะต้องมาทบทวนกันว่า จะเจอกันครึ่งหนึ่งอย่างไรให้มีสุขภาวะความคิด และจิตใจที่ดี

ที่งาน ‘AP Thailand Presents CTC FORECAST 2024 รู้ก่อน เริ่มก่อน เปลี่ยนแปลงก่อน’ นั้นคุณอภิชาติ ขันธวิธิ (CEO of QGEN Consultant), พญ. พิยะดา หาชัยภูมิ (จิตแพทย์นักแต่งเพลง ที่ปรึกษาด้าน People & Mindful Leadership) และดร. วิโรจน์ จิรพัฒนกุล (Managing Director, Skooldio และ Ex. Data Scientist, Facebook)

ได้ให้เกียรติเข้ามาร่วมสนทนาในเซสชัน PEOPLE FORECAST ซึ่งเราจะพบว่าเทรนด์ในปีนี้ ค่อนข้างจะเป็นปีที่ความคาดหวังของพนักงานจะเปลี่ยนแปลงไป องค์กรเองก็จะต้องกลับมาส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่กลมกลืนกัน โดยมี 7 เทรนด์ที่น่าสนใจดังนี้

🌟 1) กลุ่ม MEGA TREND อะไร ที่จะเข้ามาเปลี่ยนองค์กร 🌟

คนคือหนึ่งในสิ่งที่ขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า ฉะนั้นในปีนี้สิ่งที่องค์กรจะต้องกลับมามองคือการบริหาร ในเรื่องเทรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

👉 แรงงาน: ปีนี้ภาพของสังคมผู้สูงอายุจะชัดเจนมากขึ้น ทว่ากลุ่มคนอายุน้อย และกลุ่มวัยรุ่นกลับมีอัตราการว่างงานมาก นอกจากนั้นแล้วในส่วนของแรงงานข้ามชาติ จะมีการโยกย้ายข้ามประเทศเยอะขึ้นกว่าเดิม

👉 เทคโนโลยี: ปีนี้จะเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเต็มระบบ โดยเฉพาะ AI ที่ใครต่างก็รู้ว่าจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น

👉 ทาเลนต์: นอกจากองค์กรจะอยากได้พนักงานกลุ่มทาเลนต์ที่เก่งแล้ว แต่ในปีนี้กลุ่มที่มีสกิลที่คนอื่นขาดแคลนจะเป็นที่ต้องการมากกว่า

👉 ความสัมพันธ์: ภาพชัดของความสัมพันธ์ระหว่างตัวคนกับองค์กรจะเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะคนไม่ได้ Royalty กับองค์กรอีกต่อไป


🌟 2) เรื่องไหนที่องค์กรยังคงกังวล 🌟

องค์กรพยายามที่จะทำยังไงก็ได้ เพื่อให้คนในองค์กรนั้นมี Perfomance ให้ดีที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ผู้บริหารกังวลที่สุด

👉 การบริหารทาเลนต์
👉 การเติบโตทางธุรกิจ
👉 ประสิทธิภาพการทำงาน และ Productivity
👉 ความยืดหยุ่นในการทำงาน และการทำงานแบบไฮบริด
👉 ทบทวนเทคโนโลยี และการลงทุน


🌟 3) สิ่งใดที่องค์กร และคนทำงานต้องมองร่วมกัน 🌟

ในปีนี้ Productivity Paradox จะเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะองค์กรมองว่าตอนนี้ประสิทธิภาพของพนักงาน ไปไม่ถึงเป้าที่องค์กรต้องการ แม้ว่าคน Work From Home จนจะเบิร์นเอาต์อยู่แล้ว แต่หลายองค์กรกลับมองว่า เพราะแบบนี้แหละถึงควรจะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ

พูดให้ถูกก็คือผู้บริหารอยากให้คนกลับมาทำงานในบริษัท แต่คนไม่อยากจะกลับไปอีกแล้ว ฉะนั้นปีนี้องค์กรจึงต้องหาสิ่งที่เป็น The Great Compromise ซึ่งก็คือการหาจุดกึ่งกลาง ดังนั้นแล้ว ปีนี้เราจะเห็นองค์กรให้คนทำงานในหลายชั่วโมง แต่ทำงานแค่ 4 วันมากขึ้น

เมื่อเสี่ยงมากก็ว้าวุ่น

ทำยังให้เราหาจุดสมดุลระหว่างคนกับองค์กรได้ เราจะพบว่าองค์แต่ละแห่งก็มีจุดที่อยากไป จนทีมทำไม่ทัน ฉะนั้นหลัก 🔹 SEA 🔹 จึงเป็นโซลูชันที่จะช่วยหาจุดตรงกลางของคนกับองค์กรได้ ว่าอยากจะเน้นไปทางไหน ค่อย ๆ ปรับไปที่อะไรให้มันยั่งยืน

🔹 Speed ➔ Sustainability 🔹
หลายครั้งที่องค์อยากได้ผลลัพธ์ไว ๆ ทว่าการที่ทำเร็วเกินไป ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ใช้ได้ไม่นาน อาทิ อยากเอาคนเข้ามาทำสิ่งใหม่ แต่ไม่มีเวลาให้คนได้พัฒนาสกิล ถ้าอยากไว ต้องมีระบบที่ดี มีมาตรฐาน ถึงจะทำให้สามารถทำได้ไว อย่างยั่งยืน

🔹 Efficiency ➔ Empathy 🔹
ตอนนี้ Middle Manager กำลังโดนบี้หนักมาก เพราะข้างบนก็จะเอายอด ส่วนข้างล่างก็จะเบิร์นเอาต์ ฉะนั้นจุดนี้จึงเป็นจุดตรงกลางระหว่างองค์กรที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และเข้าใจพนักงานไปพร้อมกับฮีลใจพวกเขาด้วย

🔹 Alignment ➔ Autonomy 🔹
อยากได้ผลลัพธ์ หัวหน้าหลายคนจึงมีการกำหนดทิศทาง ทว่าลูกทีมก็ไม่ชอบถูกสั่ง ดังนั้นจุดนี้จึงเป็นการกำหนดกรอบทิศทาง แต่ก็ยังมีอิสระให้ลูกทีมได้ทำงานภายใต้กรอบความคิดของตัวเองอยู่


🌟 4) องค์กรกำลังมองหาอะไรจากคนทำงาน 🌟

Talent Shortage ยังคงเป็นปัญหา ซึ่งองค์กรอยากมีพนักงานที่เก่ง เพราะพนักงานที่เก่งจะทำให้เราไม่ต้องไปแย่งคนจากตลาด และทำให้เรารอดจากการดิสรัปต์ของ AI

องค์กรทุกวันนี้ ไม่ได้ดูประวัติงานในอดีต ไม่ได้ดูวุฒิการศึกษา แต่จะดูว่าเรามีทักษะอะไร หลายทักษะสามารถ Transfer งานหนึ่งไปอีกงานได้สบาย อาทิ เราเคยทำโอเปอเรเตอร์ แต่ย้ายสายมาทำ Excel ซึ่งเราสามารถใช้สกิล การคิด วิเคราะห์ข้อมูล แนวตรรกะมาใช้ได้

เราจะได้เห็นว่าองค์กรมองหาคนที่ถูกต้องกับงานมากขึ้น ใครมีสกิลที่เหมาะกับงาน งานนี้ใช้สกิลอะไรยังไง และจะเอาคนเก่งเข้ามาทำงานแบบไหน

Gen AI จะเข้ามาเปลี่ยนอยู่แล้ว นั่นทำให้คนประมาณ 60% ต้องมี Reskill และทุก 5 ปีนั้น สกิลของเราจะมีประโยชน์น้อยลงครึ่งหนึ่ง ฉะนั้นแล้วเราจึงต้องเติมเรื่องใหม่ให้เป็น Life Long Learning

ทักษะที่ต้องมีคือกลุ่ม 🔸 3D 🔸

​​🔸 Develop 🔸

สร้างทักษะ สร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้เพื่อให้คนทำงาน

🔸 Distinguish 🔸
สร้างความแตกต่าง ซึ่งองค์กรต้องตัดสินใจได้แล้วว่าจะทำยังไง อยากสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน เพื่อให้คนเป็นแบบที่อยากได้

🔸 Discover 🔸
สร้างโอกาส เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยนตาม ถ้าองค์กรกับพนักงานเข้าใจ Need ของกัน และกัน เราจะพบว่ามีโอกาสแฝงเยอะมาก เพราะบางครั้งพวกเขาอาจจะมีสกิลเซตที่สามารถดันไปใน Career path ที่ดีขึ้นได้


🌟 5) สกิลไหนที่คนทำงานต้องมีเพื่อปรับตัว 🌟

สิ่งที่คนต้องใส่ใจพิเศษ คือพวกทักษะ Enduring Human Skill หรือก็คือสกิลความเป็นมนุษย์ ที่คอมพิวเตอร์จะแทนที่ไม่ได้ ซึ่งมีแล้วใช้ได้ตลอดไป อาทิ Creative thinking, Motivation & Self-awareness, Leadership & Social influence

The new literacy คือสกิลที่เกิดขึ้นแล้ว เปลี่ยนแล้ว และมันจะเปลี่ยนตลอดไป อาทิ ก่อนหน้าคนทำงานอาจจะอยากให้เก่งอังกฤษ แต่ตอนนี้อังกฤษต้องมี พ่วงด้วยทักษะทางดิจิทัลที่ทุกคนต้องใช้เป็น

AI จะแทนที่เราไม่ได้ แต่คนที่ใช้ AI ได้นี่แหละจะแทนที่เราได้

Advance technical skills - Staying Ahead of the Curve
สิ่งที่เปลี่ยน และจะยังเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ซึ่งองค์กรไหนจะสร้างนวัตกรรมต้องมีสิ่งนี้ เราก็ต้องมีสกิลมองอนาคต อะไรที่เห็นในสื่อแล้วไม่ต้องทำ เพราะนี่มันช้าไปแล้ว


🌟 6) อะไรที่คนทำงานกำลังมองหานับจากนี้ 🌟

Work life balance และ Work life integration จะหายไป เพราะยุคใหม่จะกลายเป็น Work life fit ซึ่งคนจะทำงานด้วยการเอาข้อจำกัดชีวิตนำ อาทิ เราเป็นคนทำงานตอนกลางคืน ชอบนอนดึก ดังนั้นเราจึงหางานที่ทำหลัง 4 โมงเย็น

พนักงานยังคงมองหา The Great Compromise เนื่องจากพวกเขาจะให้ความสำคัญกับสุขภาพชีวิต และจิตใจมากขึ้น ฉะนั้นแล้วทั้งคนกับองค์กรจึงต้องหาจุดตรงกลางเพื่อให้แตกฉานว่ามันคืออะไร

Mental health หรือก็คือสุขภาวะทางใจ คือการที่ใครคนนึง มีความสามารถในการรับรู้ศักยภาพของตัวเอง สามารถรับมือกับความเครียด รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ตัวเองมีความสุข สงบ สามารถให้ประโยชน์นั้นกับสังคมและตนได้ แม้จะแค่ 1 นาทีก็ถือว่าเป็น Mental health ที่ดี

การทรานสฟอร์มความสุข เราจึงไม่เพียงแค่ต้องซ่อม แต่ต้องหาวิธีป้องกัน และส่งเสริมในศักยภาพไปพร้อมกัน


🌟 7) ปัญหาสุขภาวะที่คนทำงานต่อเจอ 🌟

Mental health ประกอบด้วย Biological (สารเคมีในสมอง/พันธุกรรม), Social (สภาพแวดล้อม/การสื่อสาร), Psychological (Mindset/เรามองโลกนี้ยังไง) ซึ่งบางครั้งสุขภาวะของเรามันไม่สุขเพราะ 3 สิ่งนี้ไม่บาลานซ์กัน

ปัญหาเรื่องสุขภาวะที่คนไทยจะต้องเจอบ่อย ๆ

👉 Biological:
ในประเทศไทย มีคนป่วยเป็นโลกมะเร็ง 1 แสนคนต่อปี และมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งเริ่มอยู่ในกลุ่มคนทำงานที่เป็นระดับซีเนียร์, โรคเส้นเรื่องในสมองแตก, เบาหวาน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับการทำงาน

👉 Psychological: คนไทยมีชุมชนความเหงา ความโดดเดี่ยว ซึมเศร้า และความไม่อดทนมากขึ้น

👉 Social: ต่อจากนี้ต้องยอมรับว่าวิกฤติสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เราจะทำยังไงให้ฟื้นคืนจากวิกฤติเหล่านี้ได้

trending trending sports recipe

Share on

Tags