‘ความโชคดีสร้างได้’ ทำยังไงให้ตัวเองดึงดูดโอกาสใหม่ ๆ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์

เคยสงสัยไหม ทำไมบางคนโชคดีจัง ไปที่ไหนก็ได้โอกาส หยิบจับอะไรก็รุ่ง ทำมาค้าขึ้นไปหมด ซึ่งเรื่องโชคลาภนี่แหละเป็นสิ่งที่หลายคนตั้งข้อสงสัยมานานนับพันปี ว่ามันมีจริงไหม

Last updated on มี.ค. 7, 2024

Posted on มี.ค. 1, 2024

ที่มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ดเชอร์นั้น ริชาร์ด ไวส์แมน (Richard Wiseman) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจึงได้วิจัยเรื่องความโชคดีจากการศึกษาผู้คนมากกว่า 1,000 คน และสิ่งที่เขาพบคือโชคไม่ใช่สิ่งเหนือธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากความคิด และพฤติกรรมของคน ซึ่งเราสามารถสร้างความโชคดีได้ด้วย 4 ปัจจัย

1. คนโชคดีเชื่อในพลังของโอกาส

คนโชคร้ายมักเป็นคนที่มี Routine เพราะพวกเขาจะใช้เส้นทางเดิมในการไป-กลับ ช่วงปาร์ตี้พวกเขามักจะพูดคุยกับคนประเภทเดียวกันในงาน ซึ่งสิ่งที่ไวส์แมนพบคือ คนโชคดีจะหาความหลากหลายให้กับชีวิตของตนอยู่ตลอด

อยากได้อะไรก็พาตัวเองไปอยู่ตรงนั้น ถึงจะสร้างโอกาสได้ ลองคิดว่า เราเป็นที่พนักงานฝ่ายขายที่อยากเป็นนักเขียน ในขณะพบปะกับลูกค้าธุรกิจ ลูกค้าบอกเราว่า ‘แฟนเขาเป็นเจ้าของสื่อ และกำลังต้องการนักเขียน’ แต่เรากลับรู้สึกแย่ เพราะเราไม่เคยมีพอร์ตสำหรับงานเขียน ทำให้เราไม่ได้รับโอกาสนั้น

นอกจากจะพาตัวเองไปหาโอกาส เราเองก็ควรมีความพร้อมอยู่เสมอ คนมากมายมักคิดว่า คนดังโชคดีเพราะความบังเอิญ แต่หลายคนไม่เคยเห็นช่วงเวลาที่เขาพากเพียรฝึกฝน เพื่อไปถึงจุดนั้น ฉะนั้นแล้วโอกาสกับความพร้อมก็ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโชค


2. คนโชคดีเรียนรู้การใช้สัญชาตญาณ

การศึกษาของไวส์แมนยังพบอีกว่าคน 20% ใช้เซนส์ในการตัดสินใจเรื่องการเงินกับการทำงาน ทว่าคนอีก 80% ซึ่งเป็นกลุ่มผู้โชคดีบอกว่าพวกเขาใช้สัญชาตญาณแค่ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัว และการเลือกอาชีพเท่านั้น

สัญชาตญาณมีความสำคัญ เนื่องจากสมองของเราสามารถตรวจจับรูปแบบบางอย่างโดยไม่รู้ตัว ว่ามีบางสิ่งกำลังมา หรือบางอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้โชคดีจะรู้วิธีฟังสัญชาตญาณเมื่อต้องตัดสินใจ เพราะเซนส์เหล่านี้สามารถป้องกันไม่ให้เราตัดสินใจผิดพลาดได้


3. คนโชคดีใช้โชคลาภมาหลอกตัวเอง

การหลอกลวงตัวเองช่วยลดความเครียด ทำให้เราเอนเอียงในแง่บวกได้ แถมยังทำให้เรามีความอดทนต่อความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเพิ่มแรงจูงใจ และประสิทธิภาพในการทำงานของคน

ไวส์แมนได้พบข้อสำคัญอีกประการคือ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพึ่งโชคลาภ ด้วยการหลอกตัวเองเพียงเล็กน้อยจะก่อให้เกิดประโยชน์ในทางอ้อมได้ อาทิ

ความเชื่อโชคลาภ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
การอวยพรให้คนโชคดีทำให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น
การขอให้ร่ำรวย จะช่วยให้เขาหาทางลงทุน

สิ่งเหล่านี้ทำให้ไวส์แมนเข้าใจว่าความมั่นใจมากเกินไปอย่างไม่มีเหตุผลนี่แหละ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงการทำงานของคนได้


4. คนโชคดีมองโลกแง่ร้ายให้กลายเป็นดี

เมื่อเราออกไปนอกคอมฟอร์ตโซน แน่นอนว่าเราก็มีโอกาสโชคร้ายมากขึ้นเช่นกัน เราอาจจะเจอคนงี่เง่าบ้าง เราอาจจะท้องเสียจากมื้ออาหาร หรืออาจตกรถในนัดสำคัญ

แน่นอนว่าโชคร้ายคือสิ่งที่เกิดกับเราทุกคน แต่ความแตกต่างอีกประการหนึ่งระหว่างคนโชคดี และคนโชคร้ายก็คือ คนโชคดีมองเห็นสิ่งดีในสิ่งเลวร้าย เพราะคนโชคดีมีความอดทนเพราะเขาเชื่อว่าแม้แต่เวลาที่เลวร้าย ก็อาจได้รับผลลัพธ์ในแง่บวก ซึ่งสำคัญต่อทัศนคติที่ยืดหยุ่นมาก


นี่เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ที่ไวส์แมนนำมาบอกเล่า อย่างไรก็ตามหากใครอยากรู้ว่าทำอย่างไร ถึงจะช่วยให้ตัวเองเป็นคนที่โชคดีมากกว่าเดิม สามารถติดตามเทคนิคเพิ่มโชคด้วยหลักวิทยาศาสตร์ของ ริชาร์ด ไวส์แมน ได้ในหนังสือ The Luck Factor


แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags