อุดรูรั่วของการทำงานแบบ Hybrid ด้วยความคิดแบบยืดหยุ่น

Last updated on พ.ค. 9, 2023

Posted on มี.ค. 1, 2022

เมื่อการทำงานแบบ Hybrid เป็นที่แพร่หลาย คนเริ่มคุ้นชินกับการทำงานรูปแบบนี้ และทีมงานเริ่มเมินเฉยต่อข้อดีต่างๆ ของการทำงานที่ออฟฟิศ

โดยข้อมูลจาก “ดัชนีการทำงาน” (Work Trend Index) ของ Microsoft ปี 2021 พบว่า 46% ของพนักงานที่ตอบแบบสอบถามมีแนวโน้มที่จะย้ายงาน เพราะอยากทำงานที่สามารถทำ “ทางไกล” (Remote) ได้ และอีกกว่า 35% บอกว่าอาจจะออกจากงานเดิมหากต้องทำงานที่ออฟฟิศแบบ 100% ซึ่งการปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานนี้กำลังสร้างปัญหาให้กับนายจ้างหลายๆ คน


เข้าใจถึงช่องโหว่ของการทำงานแบบ Hybrid

ช่องโหว่ของการทำงานแบบ Hybrid ส่วนมากเป็นเรื่องเล็กน้อยที่นายจ้างหลายคนมองข้าม เช่น การใช้อุปกรณ์สำนักงาน การที่บริษัทไม่มีนโยบายในการจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตหรือค่าไฟให้กับพนักงาน หรือการที่บริษัทไม่ได้จ่ายค่าโปรแกรมซอฟท์แวร์ที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร หรือ การทำงานแบบ Virtual ให้มีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลจาก Microsoft พบว่าหลังจากทำงาน WFH มาได้ปีกว่า พนักงานกว่า 42% ไม่มีอุปกรณ์สำนักงานสำหรับใช้ที่บ้านหรือต้องซื้อมาใช้เอง และกว่า 1 ใน 10 ไม่มีอินเทอร์เน็ตเสถียรเพียงพอเพื่อใช้ในการทำงาน 

นายจ้างจะรู้ถึงรายละเอียดเล็กน้อยแบบนี้ได้ก็ด้วยการ “ถามความเห็น” จากทีมงาน “ทุกคน” ว่ามีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการทำงานแล้วหรือยัง โดยอาจเพิ่มรายละเอียดคำถามอย่างเช่น พวกเขาคิดอย่างไรกับเครื่องมือที่บริษัทใช้ หรือพวกเขาต้องการเครื่องมือใดในการช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ออฟฟิศเอง 

นอกจากเรื่องของเทคโนโลยีและเครื่องมือในการทำงานแล้ว นายจ้างยังต้องสังเกตข้อมูลชั่วโมงการประชุมของทีมงานว่าเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าจากการประชุมทางไกลนานหรือถี่เกินไปหรือไม่  หากเยอะเกินไปต้องหานโยบายในการลดจำนวนการประชุม 

ลงมือปฏิบัติ

จากข้อมูลของ Microsoft ยังพบอีกว่า พนักงานทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่าวัฒนธรรมองค์กรต้องเริ่มจากระดับสูง เนื่องจากทีมงานอยากให้ความเห็นของพวกเขามีคุณค่าและได้รับการพิจารณา ซึ่งพวกเขารู้ว่าเมื่อไหร่ที่หัวหน้าพูดให้ปฏิบัติตาม แต่ตัวเองกลับไม่ปฏิบัติเอง 

เมื่อหัวหน้ารับความเห็นมาแล้วก็ควรหาทางจะนำมาปฏิบัติให้ได้มากที่สุด และเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วก็ต้องมีการรับฟังผลลัพธ์ว่าที่นำไปใช้นั้นได้ผลหรือไม่ แต่ละคนมีความเห็นอย่างไร ผ่านการสื่อสารที่โปร่งใส ไม่ว่าจะติดต่อสื่อสารช่องทางใด ทุกคนจะต้องรับรู้ร่วมกัน 

เปิดรับโอกาสใหม่เสมอ

ปกติแล้วเทคโนโลยีมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรืออัปเดตเสมอ ดังนั้นนายจ้างเองต้องหมั่นติดตามเรื่องนี้ให้ทัน ว่าเทคโนโลยีที่ใช้ตอนนี้ยังเหมาะกับการทำงานตอนนี้หรือไม่ หรือองค์กรอื่นใช้เครื่องมืออะไร มีนโยบายในการทำงานแบบใดที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประสบการณ์การทำงานของคนในองค์กรได้บ้าง รวมถึงหมั่นสอบถามความคิดเห็นจากทีมงานเป็นระยะ เพื่อประเมินว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือหรือเทคโนโลยีใดไหม 


รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปทำให้นายจ้างต้องใส่ใจและก้าวตามให้ทัน การถามความเห็นจากทีมงานเอง จะทำให้นายจ้างมองเห็นรูรั่วด้านต่างๆ ของการทำงาน และหากคุณรับฟังทีมงานเหมือนที่รับฟังลูกค้า และใส่ความยืดหยุ่นเข้าไปในทุกเรื่องที่ปฏิบัติ ก็จะสามารถสร้างโลกแห่งการทำงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้แน่นอน 


ที่มาของข้อมูล

trending trending sports recipe

Share on

Tags