เพิ่มความขี้เกียจในตารางงาน ด้วย Yohaku No Bi ปรัชญาแห่งความว่างเปล่า

Last updated on ม.ค. 31, 2024

Posted on ม.ค. 26, 2024

“การทำตัวยุ่งคือเครื่องเตือนใจว่าเรามีชีวิต เพื่อป้องกันความรู้สึกอันเปล่าเปลี่ยว”

ทิม ครีเดอร์ (Tim Kreider) นักเขียนเรียงความ ได้กล่าวถึงเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่มนุษย์มักทำตัวยุ่งอยู่เสมอ 😂

ในตอนเช้า เมื่อเราเปิดแล็ปท็อปขึ้นมาเพื่อรบกับวันใหม่ เราอาจรู้สึกสดใส และพร้อมที่จะรับมือกับงานที่ถาโถมเข้ามา แต่พอตกบ่ายหลังจากประสบกับอีเมลมหาศาล แชท Slack ที่ดองไว้ มีตติ้งการประชุมที่ถูกนัดหมาย รวมถึงงานประจำวันมากมาย สิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้า และก็พักมานั่งไถโซเชียลซะอย่างนั้น

เหตุที่ผู้คนชอบนั่งไถโซเชียลในช่วงบ่าย ก็เพราะว่าหลังจากประสบกับมหึงานในช่วงเช้า เราก็ทำได้แค่เพียงเสพเรื่องไร้สาระเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้า ซึ่งส่งผลให้หลายครั้ง ก็พบว่ายังมีอะไรอีกมากมายที่ไม่ได้ทำในตอนเย็น จนนำไปสู่การนอนดึกเพราะไม่พอใจที่ไม่ได้บรรลุเป้าหมายในวันนี้

แม้ว่ากิจกรรมของเราจะเยอะจนผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ประชากรทั่วโลกในปัจจุบัน กลับมีระดับความไม่พอใจในตัวเองสูงกว่าคนรุ่นก่อน ๆ นั่นก็เพราะความยุ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราลดลง

สิ่งนี้เหมือนจะขัดแย้งในกับความเชื่อของเรา เพราะเรามักเข้าใจกันดีว่า การทำตัวโปรดักทีฟจนดูยุ่งตลอดเวลา ช่วยให้งานเสร็จสมบูรณ์ จนการไม่ทำอะไรเลยกลายเป็นสิ่งที่แย่

😨 ทว่าความจริงแล้วมนุษย์ยุคนี้เหนื่อยกว่ายุคก่อน 😨

เพราะการทำหลายอย่างติดต่อกัน ทำให้พลังของเราหมดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุปกรณ์การทำงานของเรานั้นดูดพลังไปจนหมด เมื่อเราใช้อุปกรณ์การทำงาน (อาทิ ไอแพด แล็ปท็อป โทรศัพท์) โดยสลับการโฟกัสไปที่อีเมล เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และงานตรงหน้า มันจึงทำให้เราเกิดอาการล้า

โดยเฉลี่ยมนุษย์จะเปลี่ยนโฟกัสทุก ๆ 47 วินาทีในเวลาทำงาน แต่ละครั้งที่เราเปลี่ยนการโฟกัสงาน สมองของเราต้องประมวลผลสิ่งที่อยู่ตรงหน้าใหม่ เหมือนกับการเปลี่ยนเกียร์ในสมอง เพราะมันผลาญทรัพยากรทางจิตไปด้วย

ปกติแล้วการจัดตารางเวลาแต่ละวัน คือการสร้างรายการสิ่งที่ต้องทำให้รีเลทกับเวลา ทำให้คนทั่วไปมักจัดตารางงานแน่น ๆ ให้ตัวเอง จนไม่มีเวลาว่าง ทว่าตารางแน่น ๆ นี่แหละทำให้เราเหนื่อยล้า เพราะมีแต่งานติดกันนั่นเอง

ฉะนั้นแล้ว เพื่อรักษาพลังงานในร่างกาย และระดับการโฟกัสของเราให้ยังคงอยู่กับงาน เราสามารถทำได้ด้วยการจัดตารางเวลาใหม่ ด้วยการเพิ่มเวลาที่ ‘ไม่ต้องทำอะไร’ เข้าไปในตาราง

🔲 คนญี่ปุ่นมีสำนวนว่า “yohaku no bi" ซึ่งหมายถึง "ความงามของพื้นที่ว่าง" 🔲

ในสวนญี่ปุ่น มีการออกแบบด้วยการเว้นพื้นที่ว่างเปล่าเอาไว้ นั่นทำให้งานศิลป์ญี่ปุ่นจึงมักจะมีพื้นที่ว่าง เพื่อเพิ่มความสวยงาม และช่วยให้เราตีความผลงานทั้งชิ้นในองค์รวมได้

ในกรณีเดียวกัน เราเองก็สามารถจัดตารางเวลาของเรา ด้วยการเพิ่มช่วงเวลาว่างเข้าไปในตาราง ซึ่งเราสามารถใช้เวลานั้นเพื่อทำอย่างอื่นได้ อาทิการเดินเล่นเป็นเวลา 20 นาที เนื่องจากการวิจัยพบว่าการเดินเล่นช่วยให้เราคลายเครียด และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

แต่ถ้าหากไม่สามารถเดินออกไปข้างนอกได้ การยืน ยืดเส้นยืดสาย และเดินรอบ ๆ ห้องก็มีประโยชน์เหมือนกัน ไม่เพียงแค่นั้นการทำสมาธิในช่วงเวลาว่างก็ช่วยเติมเต็มพลังได้ หรือแม้แต่กิจกรรมง่าย ๆ อย่างการตีปิงปอง ถักนิตติ้ง เล่นเกมนั้น ก็ช่วยทำให้ใจสงบด้วยล่ะ

จำไว้เสมอว่าในช่วงเวลาว่างนี้ ไม่ใช่การอยู่เฉย ๆ แต่เราต้องเอาเวลาไปอู้งานทำอย่างอื่น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย และทำให้เราคิดบวกเข้าไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ Workflow ของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น


กลยุทธ์ในการใช้ช่วงเวลาว่างเหล่านี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น เพราะมันจะช่วยให้บูสต์สมองของเรา ด้วยการเอาตัวเองไปโฟกัสอย่างอื่น แต่ข้อควรระวังคือ อย่าปล่อยให้เวลาว่างกลายเป็นความขี้เกียจ แต่จงใช้เวลาว่างเพื่อรีเฟรชตัวเอง เพราะไทม์มิงเหล่านี้ ช่วยให้เราเติมพลัง จนสามารถกลับไปทำงานได้ดีกว่าเดิมเลยล่ะ


แปล เรียบเรียง: พีรพล สดทรัพย์

ที่มา

trending trending sports recipe

Share on

Tags