รวมเทคนิคมือใหม่หัดจด เริ่มต้น BUJO และ Planner อย่างไรให้เวิร์ค (ตอนที่ 1)

Last updated on ม.ค. 18, 2024

Posted on ม.ค. 10, 2024

ถึงเวลาของการ ‘จด’ จัดระเบียบชีวิต และการทำงานให้เรียบร้อยกว่าเดิม!
ด้วยเทคนิคที่ชื่อว่า ‘Bullet Journal’ หรือ BUJO ที่จะมาจัดการความคิดให้เป็นระบบมากขึ้น โดยการปูพื้นฐาน 101 ให้เข้าใจและลองไปด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้น!

ก่อนอื่น ลองหาสมุดสักเล่มรอบตัวของเพื่อน ๆ แล้วมาเริ่มจดกันดีกว่า! 😁 ☀️

วันนี้ขอแนะนำ 2 คำง่าย ๆ คือ ‘Planner’ และ ‘BUJO’

🎯 1. สมุด Planner ที่คุณโจ้แนะนำคือ ประเภทที่มีเราไม่ต้องดีไซน์เอง แต่ในหนังสือแพลนเนอร์จะชวนให้เราเริ่มทำ ชวนทำตามคอนเซปต์ หรือชวนเรา Repeat เพื่อให้จดได้อย่างต่อเนื่อง

ทริคที่น่าสนใจในการเลือกแพลนเนอร์คือ ‘รูปแบบกระดาษ’ Paper Matters
👉 รูปแบบกระดาษขาว เกลี้ยงๆ เหมาะกับคนจดเป็นรูปภาพ วาดต่าง ๆ
👉 รูปแบบกระดาษ Dot คือเป็นจุด เหมาะกับการจดเป็นตัวหนังสือ เพราะมีจุดไกด์ให้ ใครทำงาน UX,UI มักจะชอบ เพราะวาดเป็นกล่อง เป็น Flowchart ได้
👉 รูปแบบกราฟ ช่วยในเรื่องความเป็นระเบียบในการจด
👉 รูปแบบเส้นบรรทัด คือเส้นตีข้างซ้าย ที่เรามักใช้ตั้งแต่สมัยเรียน จดง่ายเหมาะกับมือใหม่

คำแนะนำ: การเลือกกระดาษ ลองหารูทีนที่เหมาะกับการจดของเรา หรือความหนา รูปแบบกระดาษ ลองเลือกในแบบที่ถูกจริตของเรา เพราะการเริ่มจากความถนัด หรือสิ่งที่ชอบ จะช่วยให้เราสนุกกับการจดได้ต่อเนื่องมากขึ้น


🎯 2. BUJO คือการจดเป็นข้อสั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมาจากคำว่า

👉 BUllet การจดเป็นข้อสั้น ๆ
👉 JOurnal บันทึกเป็นสัดส่วน สม่ำเสมอ

โดยคุณ Ryder Carroll นักเขียนชาวอเมริกา ซึ่งคิดค้น BUJO จากการที่เขาเป็นคนสมาธิสั้น และตัวเขาเองก็เป็นคนมีความคิดในหัวเยอะ จดจำทั้งหมดไม่ได้ จึงต้องหาวิธีการเพื่อให้ไอเดียที่เยอะจดได้ และทำได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของ Bullet Journal ซึ่งนั่นคือ BUJO ที่สามารถจดได้เยอะ ๆ และทำได้อย่างต่อเนื่อง

🎯 องค์ประกอบของ BUJO -> BUllet
- (•) สัญลักษณ์ ‘วงกลมทึบ’ แทน Task หรือสิ่งที่จะต้องทำ
- (o) สัญลักษณ์ ‘วงกลมโปร่ง’ หรือตัว o แทน Event หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- (-) สัญลักษณ์ ‘ขีด’ แทน Note หรือสิ่งที่ต้องการจดทั่วไป

🎯 ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน เช่น

• โทรหาพี่เอ้ ให้ไปรับอินดี้ อันดา ตอน 4 โมงเย็น
• เตือนจูนให้ส่ง Quotation ใหม่ให้คุณออย
- Payment term แบ่ง 2 งวด
• ชวนพี่มิ่ง ให้ลงทะเบียนไปงานแบงก์

o 10:00 The Organice Content plan meeting
o Happy birthday พี่เก่ง

🎯 BUllet เมื่อลงมือทำจริงจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ความคืบหน้า’ หรือ สถานะของ task

X สัญลักษณ์ ‘กากบาท’ แทนคำว่า เสร็จแล้ว!
> สัญลักษณ์ ‘มากกว่า’ แทนคำว่า เลื่อนไปพรุ่งนี้
< สัญลักษณ์ ‘น้อยกว่า’ แทนคำว่า ย้อนแบบต้องวางแผนใหม่
— สัญลักษณ์ ‘ขีดฆ่า’ แทนคำว่า ยกเลิก, ไม่ต้องการแล้ว
* สัญลักษณ์ ‘ดอกจัน’ แทนคำว่า สำคัญนะ เรื่องนี้

🎯 ตัวอย่างรูปแบบการใช้ สถานะ หรือ ความคืบหน้า

X โทรหาพี่เอ้ ให้ไปรับอินดี้ อันดา ตอน 4 โมงเย็น
> เตือนจูนให้ส่ง Quotation ใหม่ให้คุณออย
< ชวนพี่มิ่ง ให้ลงทะเบียนไปงานแบงก์

o (ใช้การขีดฆ่าทับตัวอักษร เพื่อระบุว่ายกเลิก) 10:00 The Organice Content plan meeting
o *Happy birthday อินดี้

ข้อสังเกต: แต่ละ BUllet มักจะสั้น เน้นเป็น Verb ทั้งหมด เพื่อบอกว่าเราทำอะไร หรือเตือนให้คนอื่นทำ เช่น เช็คอีเมล, โทรหา, เตือน, ชวน เป็นต้น


ลองนำเทคนิค BUllet ไปลองปรับใช้เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอกันดูน๊า และใน EP. หน้า! รายการ The ORGANICE จะกลับมาเจาะลึกกันต่อในส่วนของคำว่า ‘JOurnal’ แบบเจาะลึก เพื่อที่จะประกอบเป็นเล่ม และรู้รูปแบบของการจดนั่นเอง

อย่าลืมใส่ *ดอกจันให้กับรายการ The ORGANICE ในสัปดาห์! ทุกวันพุธ เวลา 8 โมงเช้า ด้วยน้าาา 😊 🫰


เพื่อน ๆ สามารถรับชมรายการ The ORGANICE มือใหม่หัดจด เริ่มต้น BUJO และ Planner อย่างไรให้เวิร์คได้ที่นี่เลย

มือใหม่หัดจด เริ่มต้น BUJO และ Planner อย่างไรให้เวิร์ค - The ORGANICE 320
ถึงเวลาของการ ‘จด’ จัดระเบียบชีวิต และการทำงานให้เรียบร้อยกว่าเดิม! ด้วยเทคนิคที่ชื่อว่า ‘Bullet Journal’ หรือ BUJO ที่จะมาจัดการความคิดให้เป็นระบบมากขึ้น Li…

เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ

trending trending sports recipe

Share on

Tags