📌 มัดรวม 100 เรื่องเทรนด์ รู้ก่อน เริ่มก่อน เปลี่ยนแปลงก่อน จาก CTC FORECAST 2024 📌

Last updated on ม.ค. 24, 2024

Posted on ม.ค. 21, 2024

  1. อนาคตการเมืองของคนรุ่นใหม่ จะมีวี่แววของการเมืองที่แตกต่าง อาจจะมีพรรคใหม่ที่มีอุดมการณ์ต่างกัน ความคิดคล้ายกัน แต่วิธีการต่างกัน

  2. ถ้าเศรษฐกิจเวียดนาม โตปีละประมาณ 4% อาจจะแซงไทยได้ในปี 2030

  3. รัฐบาลต้องมองภาพใหญ่ของโลก ถ้ารัฐบาลไทยปรับตัวไม่ทันเราก็ไปไม่รอด

  4. เจ้าของธุรกิจควรนำข้อมูลทุกอย่างเข้าสู่ออนไลน์ เพราะทำให้เราทำงานเร็วขึ้น 200% และประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้นถึง 90%

  5. เจ้าของธุรกิจวันนี้คุณต้องมี Real-time dashboard หรือก็คือข้อมูลปลายนิ้ว

  6. การใช้ GPT สามารถทำ Custom GPT ได้ ตอนนี้เราสามารถเทรนด์ตัวเองเป็น AI มาทำงาน และให้พนักงานถามคำตอบได้

  7. นักธุรกิจไทยต้องให้ความสำคัญกับ ESG ชัดเจนเลยก็คือเรื่องภาษีคาร์บอนที่เราต้องจ่ายเพิ่ม ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

  8. AI กำลังจะตามมา เครื่องมือ CRM ต่าง ๆ จะเริ่มบอกได้จากการคาดการณ์ทางธุรกิจ ว่า Segment นี้จะเป็นอย่างไร เราต้องทุ่มให้กลุ่มไหนมากกว่ากัน

  9. ตลาด EV Motorbike ทั้งประเทศมีอยู่ 15 แบรนด์ ส่วนใหญ่มาจากจีน และไต้หวัน ซึ่งอนาคตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามาแน่นอน เพราะต้นทุนคือน้ำมันเป็นหลัก บริษัทจึงต้องเริ่มเปลี่ยน ดังนั้นตลาดจีนจึงเริ่มเข้ามา

  10. ตลาดไอที เราไม่มี Tech Talance แต่เวียดนามมี 500,000 คน ขณะที่แรงงานเรามีแค่ 50,000 คนรวมช่างซ่อมไอทีด้วยซ้ำ

  11. Online ไม่ใช่ "ทางเลือก" แต่มันคือ "ทางหลัก"

  12. ลาวเป็นประเทศที่น่าสนใจในการขยายธุรกิจ ถ้าเราอยากได้ Talent เราสามารถสร้างจากพวกเขาได้

  13. สินค้าจีนทะลักเข้ามาในไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้เขาสามารถควบคุมเราโดยการขึ้นราคา

  14. ถ้าไทย+เวียดนาม ร่วมมือกัน เราจะไปไกลกว่านี้ได้ โดยใช้คอนเซปต์ ไทยคิดและเวียดนามทำ

  15. ธุรกิจไทยตอนนี้ ปัญหาคือไม่มีใครลงทุน ถ้าโอกาสทางธุรกิจไทยไม่เยอะ ลองออกไปมองข้างนอก เพราะประเทศรอบข้างนั้นมีโอกาสที่น่าลงทุนเยอะมาก ๆ

  16. ทุกวันนี้มี Demand แต่เราต้องหาที่ลง ว่ามันไปอยู่ตรงไหน เช่น ห้างเกิดใหม่เยอะมาก คาแรกเตอร์ของ ห้างก็แตกต่างกัน และเจาะ Target คนละรูปแบบ ต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น Research ให้เยอะกว่าเดิม

  17. Unique Selling Proposition

  • สิ่งที่ลูกค้าต้องการ / สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี / สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี
  • สิ่งที่ลูกค้าต้องการ + สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี = Winning Zone
  • สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี + สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี = Who Cares?
  • สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี + สิ่งที่ลูกค้าต้องการ = Losing Zone
  • สิ่งที่ลูกค้าต้องการ + สิ่งที่เราถนัด และทำได้ดี + สิ่งที่คนอื่นถนัด และทำได้ดี = Risky Zone
  • สิ่งที่ลูกค้าต้องการ = Demand หดตัว “เฉพาะเจาะจงมากขึ้น”
  1. เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เราต้องเปลี่ยนตาม ยกตัวอย่าง กัมพูชาขายเครื่องดื่มที่หวาน 15% แต่ถ้าวันนึงคนกัมพูชาคิดได้ว่าต้องเลิกทานหวาน คู่แข่งเราก็เลิกทำน้ำหวาน ความต้องการของคนในประเทศจะเปลี่ยนไป เราต้องปรับยังตัวยังไงที่จะให้คู่แข่งไม่ปรับตามเรา และเราจะอยู่ใน Winning Game

  2. ธุรกิจอาหาร การถามลูกค้าก็สำคัญ และการสังเกตคู่แข่งก็สำคัญ ซึ่งการนั่งสังเกตว่าคนซื้ออะไรบ้าง ในระดับที่ว่าเขาซื้อแบบไหน ชอบอะไร จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

  3. จุดโฟกัสที่น่าสนใจคือ ‘ทุกชาติแตกต่างกัน’ ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ในส่วนของ ชา Karun ไม่ใช่ว่าขายต่างประเทศแล้วจะไปได้ทุกที่ ต้องมองหาคุณค่า มองหาคาแรกเตอร์ ว่าประเทศนั้น ๆ ให้คุณค่ากับอะไร

  4. ต่างชาติให้ Value กับเราในหลายมุมมาก เพราะจริง ๆ คนมาเที่ยวเมืองไทยไม่ใช่เพราะถูก แต่ Services และบริการต่าง ๆ มันทัชใจชาวต่างชาติมากกว่า

  5. ไม่มีสินค้า และบริการไหน ตอบโจทย์ภาพใหญ่อีกต่อไป เพราะคนจะเข้ามาแย่งสัดส่วนการตลาดมาก

  6. Critical Thinking + Creative และต้องทำเป็น Loop ไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราได้ชุดข้อมูลที่มากขึ้น

  7. คนเราเก่งขึ้นทุกวัน และหลายคนอยากทำนู่นทำนี่ตลอดเวลา สิ่งที่เราควรเข้าใจมากที่สุดคือ ‘เราเก่งอะไร’ จะองค์กรเล็กหรือใหญ่ ไม่สำคัญ สุดท้ายแล้วหากเราเข้าใจตัวเอง เราจะมองหา เราควรมีหัวใจความเป็นผู้นำเล็ก ๆ เพื่อให้องค์กรเดินสะดวกขึ้น มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น

  8. ในมุมการตลาด การหาจุดยืนนั้นสำคัญมาก เราต้องกลับมามองว่าวิธีไหน ประสบการณ์อะไร จะทำให้ลูกค้าเข้ามาหาเรา

  9. Empathy สำคัญที่สุดโดยเฉพาะกับลูกค้า การที่ลูกค้ามาซื้อสินค้าหน้าร้านไม่ใช่แค่เขามาซื้อ แต่เราต้องลึกไปถึงการหาให้ได้ว่าใน TikTok หรือ Facebook เขา Tag อะไรเรา เพราะถ้าเรารู้การเคลื่อนไหวเขา เราจะ Forecast ตลาดได้ไกลขึ้น

  10. Consumer Characteristic ที่เปลี่ยนไปคือครอบครัว กลุ่มอายุ เพศ และคนต้องการความสนุกสนานในการจับจ่ายมากขึ้น

  11. คนไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งคนสูงอายุมีเวลาพร้อม และมีเงินใช้อยู่เยอะมาก แถมยังเป็นกลุ่มที่ชอบจับจ่ายนอกบ้านอีก

  12. คนในสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไป คน 80% จะใช้จ่ายสินค้าที่มีคุณภาพมากเท่านั้น และลูกค้า 32% จะหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง คุณภาพดี ของเข้าถึงได้ มีโซเชียลมีเดีย และสนับสนุนความยั่งยืน

  13. Value ของแบรนด์ไม่ใช่ราคาที่ถูกลง แต่ต้องเป็นสินค้าที่พรีเมียม และเข้าถึงกับลูกค้าได้ทุกระดับ

  14. Gen AI จะเข้ามามีผลกับการตลาดมากกว่าเดิม เข้ามาพัฒนาร้านให้ดีขึ้น หนึ่งในเป้าหมายของหลายแบรนด์คือการทรานส์คนเข้าสู่ดิจิทัล โดยปีนี้คือการทำ O2O อย่างจริงจัง จะผสมความเป็นดิจิทัลกับประสบการณ์ลูกค้าได้

  15. คนมาร้านค้ามากกว่าปีที่แล้ว เพราะคนต้องการประสบการณ์จริง นั่นทำให้ร้านจึงไม่ใช่ร้านอย่างเดียว แต่ร้านต้องสร้างประสบการณ์ลูกค้า เพื่อดึงให้ลูกค้ากลับมา

  16. จะเจาะกลุ่มลูกค้าได้ เราต้องเข้าไปอยู่ในใจเขา

  • โฟกัสว่าลูกค้าชอบอะไร
  • พยายามหาสินค้าที่รีเลทกับพวกเขา
  • ใส่อีโมชั่นเพื่อเชื่อมโยงกับพวกเขา
  • พยายามหา Segment เพื่อเจาะกลุ่มของเรา
  • ท้ายสุดคือการดีไซน์การบริการ มอนิเตอร์ และพัฒนาซ้ำวนไป
  1. คนเข้าไป Visit store น้อยลง แต่โอกาสในการเพิ่ม Ticket size มากขึ้น นั่นทำให้ลูกค้ามาไม่บ่อย แต่ซื้อทีก็ก้อนใหญ่เลย

  2. เทรนด์บางอย่างผูกกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้วยการเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วงหลังโควิด ทำให้เทคโนโลยีบางอย่างก้าวหน้าขึ้น จนผู้คนเข้าถึงได้ง่าย

  3. Retail ต้องมี Official shop และต้องทำอีคอมเมิร์ซของตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง

  4. คนเป็น Business Marketing ต้องเรียนรู้เครื่องมือ และเรียนรู้แพลตฟอร์มตลอดเวลา

  5. คนทำ Brand ต้องคิดให้ดีว่า จะให้ไอทีหรือเทคโนโลยีอะไรมาซัพพอร์ตการตลาดของเรา

  6. SEO เป็นศาสตร์ที่มาก่อน ใครที่ทำมานานกว่า จะติด Ranking ได้ดีกว่า

  7. No-code / Low-code คือความรู้ใหม่ คนสามารถเข้าถึงโปรแกรม ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Dev มาทำให้

  8. Experimental Method ในช่วงก่อน มีไม่กี่แพลตฟอร์มที่จะเป็นราชาของแพลตฟอร์ม แต่ในช่วงนี้มีแพลตฟอร์มมากมายที่เกิดขึ้นมาให้เลือก

  9. แม้ยุคนี้จะมีแพลตฟอร์มมากมายเกิดขึ้นมา แต่บางทีมันก็อาจไม่ได้เวิร์กกับเราทุกคน ฉะนั้นแล้วถ้าเราลองไปใช้แพลตฟอร์มเก่าทำการตลาด บางทีมันอาจเวิร์กมากกว่า

  10. ปีนี้ Google Chrome จะปิดกั้นการเก็บคุกกี้ของ 3rd Party ภายในไตรมาสสามของปี ซึ่งผลกระทบคือ ราคาโฆษณาจะแพง เพราะเราจะยิงแอดได้ยากขึ้น และโดนลูกค้าน้อยลง

  11. เทรนด์การตลาดปีหน้า ไม่มีอะไรเปลี่ยน ทุกอย่างเหมือนเดิม ทำของปีที่แล้ว ๆ ให้สำเร็จก่อน

  • ย้อนกลับไปในปี 2017 สิ่งสำคัญคือ หา Core Business Value ให้เจอก่อนถูก Disrupt
  • ย้อนกลับไปในปี 2017 สิ่งสำคัญคือ Content Marketing Is Not King but ‘Norm’ คอนเทนต์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ
  • ย้อนกลับไปปี 2018 คือ Tools Not Trends คุณต้องตรงไปตรงมา จริงใจกับการทำสื่อ
  • ย้อนกลับไปปี 2019 คือ Creativity ต้องคิดภายใน 15 วินาที สำหรับคนทำโฆษณา
  • ย้อนกลับไปปี 2019 คือ ถ้าลงทุนกับการทำ Digital asset จะประหยัดการลงทุน เริ่มก่อนได้เปรียบก่อน เพราะถ้าไม่สร้างคอนเทนต์ ไม่มีสินทรัพย์ดิจิทัลของตัวเอง ค่าโฆษณาจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ
  • ย้อนกลับไปปี 2020 คือ Shoppertainment: เมื่อการขายของต้องมาคู่กับความบันเทิง
  • ย้อนกลับไปปี 2020 คือ - Creative work as Experimental & Testing (When More is More) การทำงานครีเอทีฟยุคหน้าจะเป็นยุคลองผิดลองถูก ยิ่งทำเยอะยิ่งได้เยอะ
  • ย้อนกลับไปปี 2021 ยุคโควิด คือ ต้องกล้าชน กล้ายืน เรายืนเคียงข้างใคร แบรนด์ต้องมีจุดยืนชัดเจน มีด้านจริยธรรม (Brand Democratization: A Call for Morality)
  • ย้อนกลับไปปี 2022 คือ New Experience Transformation O2O + I2O | Online to Offline + Inside to (การสร้างประสบการณ์จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ และเริ่มจากภายในสู่ภายนอก)
  • ย้อนกลับไปปี 2022 คือ ไม่ใช่แค่จริงใจ แต่ต้อง Makesent
  • ย้อนกลับไปปี 2023 คือ ไม่ใช่ KOL แต่เป็น KOC คือคนที่ซื้อแล้วใช้แล้ว เป็นลูกค้าเราจริง ๆ
  • ย้อนกลับไปปี 2023 คือ Brand need to adopt the creator’s mindset - จะทำคอนเทนต์ แบรนด์ต้องทำตัวเป็นครีเอเตอร์ ใช้ท่าเดิมไม่ได้
  1. บางอย่างอยู่มานานจนกลายเป็น Norm ของนักการตลาดรุ่นใหม่ไปแล้ว บางอย่างก็ล้มหายตายจากไป เพราะลูกค้าไม่เกิดการ Adoption แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดูอดีตย่อมทำให้วางแผนในอนาคตได้ดีขึ้น

  2. จงมีความ Creative แบบแก๊งมิจฉาชีพ และมีความ Creation แบบแก๊ง Call Center

  3. COP 28 คืองานที่มีการลงนาม นานาชาติ ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาวะโลกร้อนโดยตรง

  4. COP28 พูดถึงเรื่องของอาหาร คือภาคปศุสัตว์ ผลิตคาร์บอนเยอะ Food system จะสำคัญมากขึ้นในปีหน้า

  5. Transition Away from Fossil Fuel ทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนผ่านจาก Fossil เพื่อช่วยโลกร้อน

  6. 5 Pillars of Energy Transition by 2030
    การใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น 3 เท่า
    จะทำอย่างไรให้การใช้พลังงานหลังจากนี้มีประสิทธิภาพ เพื่อประหยัดพลังงาน
    ลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน และฟอสซิล
    การทำ ESG จะมีเรื่อง Finance เข้ามาซัพพอร์ต
    ทุกประเทศต้องลดการปล่อยก๊าซมีเทนในปี 2030

  7. ภาวะโลกร้อน จะกลายเป็นภาวะโลกเดือด เมื่อภาวะนี้มีความรุนแรงมากขึ้น ความแห้งแล้งจะเกิด ดังนั้นภาวะอาหารขาดแคลนจะมาแน่นอน

  8. ก๊าซเรือนกระจกต้องน้อยลงในปี 2030 จากการทำ 3 แผน ควบคุมตัวเอง, ปรับไปใช้ไฟฟ้า และขยายวงกว้างไปสู่คนอื่น

  9. การจะขยายการคุม ESG ไปสู่พาร์ตเนอร์ เราต้องเริ่มที่ทำเองได้ก่อน และค่อยขยับไปสู่คนอื่น สิ่งสำคัญคือต้องคุยตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าทำปุบปับ พาร์ตเนอร์รายเล็กจะปรับตัวไม่ทัน

  10. คนที่มีสินค้า และบริการที่มีกลิ่นอายการรักษ์โลก จะทำให้ผู้บริโภคอยากซื้อมากขึ้น

  11. ESG TREND 2024 จะไม่ใช่แฟชั่น แต่เป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต

  12. Focus on climate action หมายถึง Action ขององค์กรคุณคืออะไร และเราในฐานะ SME / Startup มีสินค้า บริการ ลดการใช้พลังงานอะไร หรือมีการทำ Carbon Capture ไหม

  13. Growing importance of Diversity, Equity, and Inclusion (DE&I) คือความใส่ใจของผู้บริโภคที่ต้องการเห็นบริษัทต่าง ๆ สนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง ตั้งแต่สวัสดิการความเป็นอยู่ เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

  14. เมื่อจะเข้าไปทำธุรกิจกับชุมชน ต้องมอบ Gift ให้กับพวกเขาด้วย จะเข้าไปส่งเสริมสิ่งใด ก็ควรให้พวกเขาโตไปด้วยกัน

  15. ประเทศจะปรับเปลี่ยนเพิ่มกฏหมายอะไรใหม่ ต้องไปแก้หลายกระทรวง ถ้ารัฐบาลจะทำจริงจังต้องทำอย่างมีมาตรฐาน

  16. องค์กรสามารถทำตัวเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาส ให้คนตัวเล็ก เข้ามาทำ ESG เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจได้

  17. เวลาที่องค์กรจะเลือกเข้าซื้อบริษัทไหน สิ่งที่เขามองคือการซื้ออนาคต ซึ่ง Royalty และ Networking จะตามมาเอง

  18. ครีเอทีฟที่มุ่งสู่อนาคต คือการเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา เพื่อไปเกี่ยวข้องกับตลาด สังคม และโลกอยู่เสมอ

  19. Customers Experience Landscape คือ Marketing, Commerce, Digital Product และ Services

  20. ครีเอทีฟในอนาคต คือ CREATIVITY Powered by Technology

  21. 3 มุมของครีเอทีฟที่นำไปใช้ได้ในปีนี้

  • ลด อย่าไปทำอะไรที่ไม่จำเป็น
  • ลอง เราต้องลองแก้ปัญหา
  • เริ่ม ปรับกระบวนการนำเทคโนโลยีมาใช้
  1. ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในทุกที่ มันสามารถใช้งานได้เมื่อมีของ 3 อย่าง
    คนจะตั้งคำถาม เราก็ต้องสร้างความเกี่ยวข้อง
    ลดกำแพง ที่สามารถใช้งานได้ยาก ให้คนเข้าใกล้กับโจทย์มากขึ้น
    สร้างความโดดเด่น ทำไงให้โดนใจผู้คน

  2. ผู้บริโภคปัจจุบันจะมีภูมิคุ้มกันกับสูตรสำเร็จ ฉันเบื่อแล้ว เดี๋ยวทำช้ำ กลับไปกลับมา ฉะนั้นถ้าใช้ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเข้าใจความคาดหวังของคน

  3. 2-3 ปีที่ผ่านมา ทุกอย่างถูกฝึกสอนว่า นักการตลาดต้อง creative แต่จริง ๆ มันต้องแยกออกจากกัน เพราะคุณกำลังพยายามทำตัวเองเป็นอีกอาชีพ

  4. การที่รู้ปัญหาตัวเองอย่างชัดเจน แล้วหาทางแก้ไขปัญหานั้น นี่แหละ Creativity ไม่ใช่หนังหรือคอนเทนต์ออนไลน์ มันคือคนละขากัน

  5. ลูกค้าหลายคนไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร ดังนั้นบรีฟจึงสำคัญ หลายครั้งเราต้องช่วยลูกค้าจริง ๆ เช่น ลูกค้ามีปัญหา แต่กลับต้องการเพิ่มยอดขาย การเพิ่มยอดขายไม่ใช่การแก้ปัญหา เราต้องค้นให้เจอว่าจริง ๆ แล้วลูกค้าติดปัญหาที่อะไรกันแน่

  6. Soft power มาจากวัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบาย หรือรีแอ็กชันที่เกิดกับประเทศต่าง ๆ

  7. Soft power ต้องเหมือนปลูกป่าสักผืน เราต้องทำให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเราไม่ต้องไปยุ่งกับป่า ปล่อยให้มันโตไปเลย อย่าไปยุ่งกับมัน เพราะป่ามันเติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการกระทำ แต่มันอาจจะเกิดจากการไวรัลโดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างชุดนักเรียนไทย จากหนังเรื่องสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก ซึ่งคนจีนแห่กันซื้อชุดนักเรียน เพราะชอบหนัง

  8. ทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดคือ ‘คน’ ดังนั้นบริษัทใหญ่จึงให้ความสำคัญกับนวัตกรรม แต่นวัตกรรมเปรียบเหมือนแฟชั่น เพราะแป๊บเดียวก็เก่าแล้ว

  9. เหตุที่ประเทศไทยหานวัตกรรมได้ยาก ไม่ใช่เพราะไม่มีเงิน แต่เป็นเรื่องของ Culture ซึ่งนวัตกรรมต้องทำให้คนที่อยู่ระดับล่าง มีสิทธิ์ได้พูด

  10. ถ้าไทยอยากเป็นผู้นำนวัตกรรมต้องชูเรื่องท่องเที่ยวกับเกษตร ถึงจะส่งให้เรากลายเป็นผู้นำระดับโลกได้ ซึ่งเกษตรเทคโนโลยีนี่แหละจะเป็นอนาคต

  11. ยุคต่อไปของเทคโนโลยีคือเรื่องของการ KYM (KNOW YOUR MACHINE) คือการที่คนรับรู้เทคโนโลยีของเรา

  12. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้น ในตอนนี้เราเลยจุดหักศอกของการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว นี่จะไม่มีวันหยุด และจะเร็วขึ้นแบบมหาศาล

  13. ตรงไหนมีปัญหา จงวิ่งเข้าใส่ และประเทศไทยมีปัญหาเป็นล้าน ให้มองปัญหาคือปัญหา ให้มองโอกาสคือโอกาส และทุกครั้งที่เจอข้อจำกัด ก็จงวิ่งเข้าใส่

  14. อะไรที่ขึ้นเป็นเทรนด์ เราไม่ควรตาม เพราะกระแสมีไว้สวน ไม่ควรตาม โดย Innovation มีอยู่ 3 กลุ่ม Too much, Too soon และ Too fast

  15. ธีมในอีก 5 ปีข้างหน้าคือ Human Centric AI และ AI จะมา Augment คน ซึ่งทีมแค่ไม่เกิน 10 คนจะสร้างยูนิคอร์นได้ 1 ตัวในอนาคต

  16. ผู้นำ 80% ลึก ๆ ยังหวาดกลัวต่อ AI แต่การที่คนหวาดกลัวนี่แหละ จะเป็นโอกาสอันดีที่จะวิ่งเข้าใส่ อาทิ ทำให้ตัวเองเป็นสตาร์ตอัปที่ใช้ AI ที่แรก

  17. เมื่อเราเรียนรู้ว่าเราไม่รู้อะไร เราจะเรียนรู้มหาศาล จงอย่าลืม Lead with humanity empty และ Confident

  18. ถ้าใครใช้ AI ไม่เป็นต้องเริ่ม! เพราะสิ่งนี้จะเข้าไปอยู่ในทุกกระบวนการทำงาน เพราะสิ่งนี้จะช่วย Deliver ทุกอย่างกับชีวิต

  19. เวลาต้องบริหารจัดการเรื่องคน สิ่งที่อยากให้กลับไปมองคือ 4 MEGA TREND ใหญ่
    สังคมผู้สูงอายุ จะขยายขอบเขตกว่าเดิม คนอายุน้อย และกลุ่มวัยรุ่นมีอัตราการว่างงานมาก มีการโยกย้ายข้ามประเทศเยอะกว่าเดิม
    คนใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
    เทคโนโลยีของคนจะสะท้อนมาถึง Skill
    ความสัมพันธ์ระหว่างตัวคนกับตัวบริษัท เพราะคนไม่ได้ Royalty กับองค์กรอีกต่อไป

  20. ในปีนี้ Productivity Paradox จะน่ากลัว องค์กรมองว่า Productivity ไม่ถึงเป้าที่ต้องการ แม้คน Work From Home จะ Burn out แต่องค์กรก็ต้องการจะเรียกคนกลับเข้าออฟฟิศ

  21. ยุคใหม่มี Work-life Fit คนทำงานด้วยการเอาชีวิตนำ อาทิ เมื่อเราชอบนอนดึก จึงหางานทำหลัง 4 โมงเย็น

  22. เราต้องเข้าใจคำว่า Mental Health เพราะสุขภาพจิต คือการที่บุคคลมีความสามารถรับรู้สภาพสุขภาวะ ที่บุคคลรับรู้ศักยภาพของตน สามารถรับมือกับความเครียดในชีวิต สามารถทำงานให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ และสามารถทำประโยชน์ ให้แก่สังคมของตนได้

  23. 6 ใน 10 ของบุคลากรจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมก่อนปี 2027

  24. บริหารคนอย่างสมดุล เสี่ยงมากก็ว้าวุ่น หลายครั้งเร็วเกินไปได้ Solution ก็ไม่ยั่งยืน / ถ้าเราไวต้องมีระบบที่ดี ไม่ใช่ไวแล้วขาดระบบ หาสมดุลให้เจอ

  25. Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ – Empathy เข้าใจพนักงาน อาทิ ข้างบนบี้ยอด ข้างล่างไม่ไหวแล้ว / อะไรคือจุดที่เหมาะสม

  26. Alignment กำหนดทิศทางชัด – Autonomy ให้อิสระ คืออย่าเป็น Leader ที่ชี้นิ้วสั่ง หรือคนรุ่นใหม่ไม่ชอบสิ่งนี้ ช่วยให้อิสระฉันหน่อย

  27. บางครั้งเรายอมช้า เพื่อให้เข้าใจเขามากขึ้นในอนาคต หรือการที่เราเซตอะไรไม่ดี แต่ถ้ามีการ Alignment เขาจะมีอิสระขึ้น

  28. The Skills Economy องค์กรทุกวันนี้เราดูทักษะ ไม่ได้ดูแล้วว่าเราจบอะไรมา ท้ายที่สุดองค์กรอยากมีพนักงานที่เก่ง พนักงานที่เก่งจะทำให้เรารอดจาก Digital AI Disrubtion

  29. “ทุก 5 ปี ทักษะของคุณมีจะมีประโยชน์ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง” — Reskilling for a Rapidly Changing World (Boston Consulting Group)

  30. สกิลที่จะสำคัญมากขึ้นในอนาคต อาทิ The New Literacy ทักษะสมัยใหม่ที่ ‘ทุกคน’ ควรต้องรู้, Enduring Human Skills, Advanced Technical Skills ที่จะเปลี่ยน และจะยังเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ

  31. ทุกองค์กรจะกลับมา Review และ Reset ใหม่ เพราะคนทำงานอยากได้ Wellness and Well- Being แต่องค์กรอยากได้ผลตอบแทน

  32. ไม่มี 1 Size Fit All อีกต่อไป เพราะการบริหารจะแบ่งเป็น 4 ขั้น
    คือกลุ่มผู้บริหาร อย่าไป Micro Manage พวกเขา
    กลุ่มผู้บริหารเมเนเจอร์ ให้ไปกำกับเมเนเจอร์อีกที
    กลุ่มเมเนเจอร์ที่จะคุมทีม ควรดูว่าเขามีสกิลในการจัดการแค่ไหน
    กลุ่มพนักงานปกติ

  33. คนแบบไหนที่เป็นคนเก่ง เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องกลับมาคิดกัน ว่าองค์กรของเราวางคนเก่งไว้ในลักษณะไหน ซึ่งเก่งของเรากับเก่งของหัวหน้า และเก่งขององค์กรเป็นแบบเดียวกันไหม แล้วเก่งในอดีตจะเป็นเก่งในอนาคตหรือเปล่า

  34. ถอดรหัสคนเก่ง เป็นยังไง คือที่มาของ Talent Management เราต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อดึงทาเลนต์มาอยู่กับเรา

  • ดูประสิทธิภาพย้อนหลัง
  • สุขภาพจิตดี
  • เก่งแล้วต้องมีความทะเยอทะยาน
  1. ถ้าเรื่อง Climate change เป็นเรื่องใหญ่ของโลกภายนอก แต่ Mental health คือเรื่องใหญ่ของโลกภายใน
trending trending sports recipe

Share on

Tags