ถอดรหัส Error Code โค้ดที่คนใช้บราวเซอร์ควรรู้

Last updated on ก.ค. 2, 2019

Posted on พ.ค. 8, 2019

หน้าบราวเซอร์ล่มที หลายคนก็ตีความหมายไปกันก่อนเลยว่า อินเทอร์เน็ตล่มชัวร์! ทั้งที่ความจริงแล้ว การที่หน้าบราวเซอร์ล่มเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เป็นรหัสตัวเลข 3 ตัว พร้อมข้อความภาษาอังกฤษที่แจ้งขึ้นหน้าเว็บ เพื่อบอกสถานะการของการทำงานของ HTTP (Hypertext Transfer Protocol หรือ โพรโทคอลสื่อสารสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต)

โดย Error Code ที่พบเห็นกันบ่อย จะมีอยู่ 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ

4XX หมายถึง ความผิดพลาดจากฝั่งของ User เช่น..

Error 401 – Unauthorized :ไม่สามารถเข้าถึงหน้าเว็บได้ ต้องกรอก Username และ Password ให้ถูกต้อง ถึงจะสามารถเข้าหน้าเว็บนั้น ๆ ได้

Error 403 – Forbidden :ไม่สามารถเข้าหน้าเว็บได้ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ ก่อน

Error 404 – Not Found :ไม่พบหน้าเว็บ หรืออาจจะเกิดจากการกรอกที่อยู่ URL ผิด แต่ถ้าหากคุณมั่นใจว่าที่อยู่ URL นั้นถูกต้องแล้ว นั่นหมายความว่า เว็บไซต์นั้นไม่มีอยู่แล้ว ไม่สามารถเข้าถึงได้

Error 408 – Request Timeout :เกิดจากความล่าช้าของอินเทอร์เน็ตของเซิร์ฟเวอร์ที่เราพยายามเข้าถึง จนมีการตัดสัญญาณทำให้ระบบล่มได้

และ 5XX หมายถึง ความผิดพลาดจากฝั่งของ Server เช่น..

Error 500 – Internal Server Error : เซิร์ฟเวอร์มีปัญหา กรุณากลับมาใช้งานภายหลัง ซึ่งเกิดจากเซิร์ฟเวอร์แม่ข่ายไม่พร้อมให้บริการ

Error 502 – Service Temporarily Overloaded : มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากเกินกว่าเซิร์ฟเวอร์จะรองรับไหว ส่งผลให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม ปัญหานี้แก้ได้โดยรอจังหวะให้คนเข้าชมเว็บไซต์น้อยลง หรือรอให้เซิร์ฟเวอร์กลับมาทำงานได้ตามปกติ

Error 503 – Service Unavailable : เซิร์ฟเวอร์ปิดปรับปรุง ยังไม่พร้อมใช้งาน ซึ่งมีการระบุไว้ชัดเจนจาก Admin ที่ได้ทำการปิดระบบไว้แบบชั่วคราว จะกลับมาเปิดเว็บไซต์ไชต์อีกครั้งในภายหลัง

งานนี้ก็ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ Error Code คราวนี้เราก็จะได้ทราบกันแล้วว่า ทุกครั้งที่เว็บไซต์ล่ม หรือเข้าถึงไม่ได้ สาเหตุเกิดจากอะไร และนำไปปรับใช้กันได้นะคะ

trending trending sports recipe

Share on

Tags