ใครถูกใครผิด 3 เรื่องในออฟฟิศที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

Last updated on มี.ค. 20, 2021

Posted on มี.ค. 20, 2021

“ที่ทำไปเพราะนายสั่ง จะอ้างเพื่อไม่รับผิดได้ไหม?”

“หัวหน้างานชอบแตะไหล่ คุยแนบชิด  หรือมีรุ่นพี่ต่างเพศในที่ทำงาน ชอบลวนลามทางสายตา หรือพูดจาสองแง่สามง่ามจนเราอึดอัด รู้สึกอึดอัดแต่ไม่รู้จะต้องทำยังไงดี?”

“นายจ้างรับปากรับเราเข้าทำงาน ลาออกจากที่เก่าเรียบร้อยแต่เกิดเทเรา หรือมาเปลี่ยนข้อตกลงที่เราไม่โอเค จะเรียกร้องอะไรจากนายจ้างได้รึเปล่า?”

CREAIVE TALK ชวนคุณยุทธนา ศรีสวัสดิ์ หรือ อ.มิกกี้ CEO of iTAX และรองคณะบดีประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มาคลายข้อสงสัยทางกฎหมายให้ทุกคนติดตามกันต่อใน CT in Law ใครถูกใครผิด? EP.4 “เรื่องในออฟฟิศที่คุณอาจยังไม่เคยรู้”

เคสที่ 1 ปฏิเสธไม่ทำตามคำสั่งนายได้หรือไม่?

ไม่ได้ หากเป็นหน้าที่ตามสัญญาจ้างงาน แต่เราสามารถฝืนคำสั่งไม่ยินยอมปลอมแปลงเอกสารที่ไม่ชอบต่อกฎหมายได้ ถือว่าไม่ผิดสัญญาจ้าง และหากถูกให้ออกจากงาน ในกรณีนี้สามารถเรียกร้องเงินชดเชย เอาผิดตามกฎหมายแรงงานได้ แต่ถ้าเราตัดสินใจยอมทำตามคำสั่ง จะมีความผิดต้องรับโทษไปด้วย จะอ้างว่าเป็นคำสั่งนายจ้างไม่ได้ 

เคสที่ 2 เจอเจ้านายคุกคามทางเพศทำยังไงดี?

หากลูกจ้างถูกนายจ้าง ผู้มีอำนาจเหนือกว่าล่วงเกิน คุกคาม แทะโลมทางสายตา แชตหายามวิกาลหรือทำความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง สามารถรวมตัวกันรวบรวมหลักฐาน ภาพถ่าย คลิปเสียง วิดีโอ แชต พยานบุคคล เพื่อดำเนินคดีเอาผิดทางอาญาที่โรงพักในเขตบริษัท ข้อหาทำอนาจาร มีโทษปรับและจำคุกโดยต้องระบุว่ามีความประสงค์จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด และสามารถนำเรื่องฟ้องต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างได้ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน

เคสที่ 3 ลาออกมาแล้ว แต่ออฟฟิศใหม่เกิดเปลี่ยนใจไม่รับเราเข้าทำงาน จะทำอะไรได้บ้าง?

เรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างใหม่ได้ เพราะสัญญาว่าจ้าง*ไม่มีแบบ จึงเป็นข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่ายที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะพูดปากเปล่าหรือร่างสัญญาหรือไม่ก็ตาม ลูกจ้างสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในคดีแพ่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องว่าจ้างทนาย สามารถขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานช่วยดำเนินการสู้คดีให้แทน แล้วแต่ดุลยพินิจของศาลว่าจะได้เงินชดเชยเท่าไหร่ ส่วนมากสุดท้ายจะประนีประนอมยอมความกันได้

trending trending sports recipe

Share on