จับจ่ายพุ่ง จัดส่งเพิ่ม สรุปสถิติ E-Commerce ไทยปี 2020 และแนวโ?

Last updated on พ.ย. 12, 2020

Posted on พ.ย. 12, 2020

หลังจากผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์ที่สร้างความรู้สึกสะดวกง่ายดายจนเริ่มติดใจ และไว้วางใจที่จะใช้บริการ ทำให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทยเติบโตขึ้นกว่าเดิมในปี 2019 จาก 163,300 ล้านบาท เพิ่มเป็น 220,000 ล้านบาท ในปลายปี 2020 รวมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 35%

สถิติ E-commerce ไทย 2020

โดยคุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO และผู้ก่อตั้ง ‘Priceza’ คาดการณ์ว่าธุรกิจ E-commerce ทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง 50% ในปี 2021 อย่างแน่นอน ไม่ใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะช่วง สังเกตจากพฤติกรรมการ ‘จับจ่าย’ และ ‘จำหน่าย’ สินค้าออนไลน์ผ่าน Marketplace และ Social Media ในไทยช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่สถานการณ์บังคับทำให้เกิดผู้ใช้งานรายใหม่ ทั้งในฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายต่างต้องเข้ามาเรียนรู้วิธีการใช้งานระบบออนไลน์มากขึ้น 

ซึ่งยอดขายนำมาเป็นอันดับหนึ่ง 73% คือ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค (Supermarket) โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนซึ่งตรงกับช่วงล็อกดาวน์ เพราะผู้คนแห่กักตุนสินค้าผ่านช่องทางสั่งซื้อออนไลน์

อันดับสอง 50% เป็นสินค้าไอที (Retail Tech) เช่น จอมอนิเตอร์และเครื่องเล่นเกม ผลมาจากคนทำงานต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน (Work from home) และ อันดับสาม 29% คือ หมวดตกแต่งบ้าน (Furniture) เพราะทุกคนต่างอยากทำบ้านให้น่าอยู่เมื่อต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ DAAT TALK: E-Commerce The Next Chapter: คุยเจาะลึกธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หลัง COVID-19 เริ่มคลี่คลาย)

สถิติ E-commerce ไทย 2020

ในขณะที่คุณวราวุธ นาถประดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ Kerry Express เห็นพฤติกรรมการ ‘จัดส่ง’ พัสดุเพิ่มขึ้นตามยอดขายสินค้าออนไลน์ และด้วยวัฒนธรรมของคนไทยให้ความสำคัญกับครอบครัว จึงแสดงออกถึงความห่วงใยเมื่อต้องอยู่ในช่วงเว้นระยะห่างระหว่างกัน (Social Distancing) ตามนโยบายรัฐ เพื่อป้องกันโรคระบาดตามคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข

ผลทำให้ยอดการใช้บริการ Kerry Express ทั้งผู้ซื้อ B2C และผู้ค้า C2C โตขึ้น 50% ทุกวันในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มพุ่งสูงอีกครั้งในช่วงปลายปี 2020 จากแคมเปญ 11.11 และ 12.12 ที่ทุกแบรนด์ต่างอัดโปรโมชันกระตุ้นยอดขายทิ้งท้ายปี

โจทย์ที่ท้าทายสำหรับ Kerry Express คือ ต้องจัดการบริหารความคาดหวังของผู้รับและผู้ส่งพัสดุ (Capacity Management – กระบวนการที่ช่วยให้มั่นใจว่าทรัพยากรที่มีอยู่สามารถรองรับปริมาณการใช้บริการได้และเป็นไปตามข้อตกลงระดับการให้บริการ SLA) ที่เพิ่มขึ้นมหาศาลแบบชั่วข้ามคืน

อย่างแรกจึงต้องทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า และสื่อสารกับผู้ใช้บริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยทราบขั้นตอนและนโยบายการจัดส่งสินค้าให้ดี เพื่อจะสามารถจัดการปริมาณความแออัดในสถานีคัดแยก เพิ่ม Traffic ให้ไหลลื่นเป็นระบบ และต้องไม่ลืมคำนึงถึงลำดับความสำคัญ (Priority) เนื่องจากประเภทสินค้าที่จัดส่งแตกต่างไปจากเดิม เช่น ต้องคัดแยกของสดและอาหารจัดส่งด่วนเป็นพิเศษ เป็นต้น 

และนี่คือประสบการณ์ตรงจาก 2 ผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งผ่านพ้นช่วงยากลำบากที่สุดมาได้ ยังพลิกวิกฤตเป็นโอกาสประสบความสำเร็จ ทุบสถิติของตัวเองจากความกล้าพิชิตโจทย์ที่ท้าทาย ไม่หยุดแก้ปัญหาเพื่อจะก้าวข้ามขีดจำกัดไปได้ไกลกว่าเดิม

คุณสามารถรับชม LIVE ย้อนหลังได้ที่ Facebook Page CREATIVE TALK คลิกที่นี่เพื่อดูย้อนหลัง


สนใจเข้าร่วมงาน CREATIVE TALK CONFERENCE 2021 สามารถอ่านรายละเอียดและซื้อบัตรได้ที่ www.ctc2021.com

บัตร Early Bird #1 เพียง 1,600 บาท (ปกติ 3,500 บาท) พิเศษถึงวันที่ 5 ธ.ค. 63 เท่านั้น

trending trending sports recipe

Share on

Tags