มารู้จักวิธีตั้งเป้าปีใหม่ว่า ต้องทำยังไงถึงจะสำเร?

Last updated on ธ.ค. 23, 2021

Posted on ธ.ค. 23, 2021

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่วางแผน New Year’s Resolution แล้วล่ม ไม่ต้องเสียใจไป เพราะนี่เป็นเรื่องปกติ

ข้อมูลจาก FranklingCovey เปิดเผยว่า กว่า 1 ใน 3 ของคนที่ตั้งเป้า New Year’s Resolution ไว้มักจะทำตามแผนไม่สำเร็จภายในตั้งแต่ยังไม่พ้นเดือนมกราคมด้วยซ้ำ เพราะการวางแผนเป็นเรื่องง่าย แต่การลงมือทำให้สำเร็จนั้นต้องอาศัยมากกว่าแค่วินัยที่ดี

วันนี้เรามีคำแนะนำที่จะทำให้คุณบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้


เลือกเป้าหมายที่ถูกต้อง

คุณจะพยายามอย่างเต็มที่หากมีเป้าหมายที่ทำได้จริงและมีความหมายด้วย สามสาเหตุหลักที่ทำให้เรามักจะยอมแพ้จากเป้าหมายคือ ตั้งเป้าหมายที่คนบอกว่าเราต้องทำ เป้าหมายกว้างเกินไป เราไม่มีแผนการที่ชัดเจนที่จะไปถึงเป้าให้ได้

การตั้งเป้าหมายควรใช้หลักการ SMART 

  • Specific (เจาะจง) ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น หากคุณต้องการลดน้ำหนัก ต้องตั้งน้ำหนักที่ต้องการจะลดไปเลย
  • Measurable (วัดผลได้) ถ้าเป็นการตั้งเป้าหมายในเรื่องการออกกำลังกายหรือลดน้ำหนักอาจจะวัดผลได้ไม่ยาก แต่เป้าหมายอื่นๆ ที่วัดผลได้ยาก คุณก็อาจจะต้องหาทางวัดผลดู เช่น อยากเลิกนิสัยกัดเล็บ ให้ลองถ่ายรูปเล็บไว้ เมื่อเวลาผ่านไปให้กลับมาดูว่าเล็บของคุณยาวแค่ไหน หรือพฤติกรรมอื่นๆ อาจวัดผลได้ด้วยการลองจดบันทึก
  • Achievable (เป็นไปได้) การตั้งเป้าที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การตั้งแต่เป้าที่ใหญ่เกินไปอาจทำให้คุณรู้สึกตึงเกินไปและอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านอื่นๆ ไปด้วย เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าจะเกษียณให้ได้ภายใน 5 ปี และตอนนี้คุณอายุแค่ 30 ปี อาจจะเป็นเป้าหมายที่ดูเป็นจริงได้ยากเกินไป ลองเปลี่ยนเป้าหมายเป็นหาเงินเพิ่มเดือนละ 5000 บาทดูจะเป็นไปได้มากกว่า
  • Relevant (เกี่ยวเนื่อง) ลองถามคำถามตัวเองดูว่าเป้าที่ตั้งไว้สำคัญกับคุณจริงหรือไม่ และเป้าหมายนั้นคือสิ่งที่คุณอยากทำจริงหรือเปล่า
  • Time-Bound (กำหนดระยะเวลา) เช่นเดียวกับการตั้งเป้าหมายให้เป็นไปได้ การตั้งเป้าเรื่องเวลาก็เช่นกัน จะต้องมีเวลาที่เหมาะสม หรือพอเหมาะให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ ทางที่ดี ลองตั้งเป้าเล็กๆ แบบค่อยเป็นค่อยไประหว่างทางเรื่อยๆ จะถึงเป้าใหญ่ได้ดีกว่า

วางแผนลงมือทำ

เพราะว่าการจะไปถึงเป้าหมายนั้น ใช่ว่าตื่นมาจะสำเร็จเลย คุณยังต้องอาศัยการวางแผนที่ดี มองให้เห็นถึงต้นตอของสิ่งที่คุณตั้งเป้าไว้ว่าอยากจะแก้ไข โดยเฉพาะเมื่อคุณอยากจะเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ดีบางอย่าง 

ตัวอย่างเช่น ติดทวิตเตอร์มากเกินไป เมื่อคุณรู้สึกอ้างว้าง คุณเลยมักจะคว้าโทรศัพท์ขึ้นมาไถฟีด และทำให้คุณรู้สึกเชื่อมโยงกับคนในนั้น แต่ความจริงแล้ว สาเหตุของปัญหาคือ คุณรู้สึกเหงา เพราะฉะนั้นหนทางที่จะทำให้เป้าหมายของคุณในการเลิกติดทวิตเตอร์สำเร็จ คือ การลุกขึ้นแล้วเดินไปคุยกับเพื่อนเสีย 

สำคัญ คือ คุณต้องหาสาเหตุของพฤติกรรมที่ต้องการเปลี่ยนให้เจอ ทั้งสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังจะทำพฤติกรรมแย่ๆ และรางวัลที่คุณให้เพื่อชดเชยสัญญาณนั้นๆ การวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสามารถทำได้ทีละเล็กละน้อย เช่น ถ้าคุณอยากวิ่ง อาทิตย์แรกอย่าเพิ่งออกไปวิ่งทันที แต่ให้ลองสวมชุดสำหรับวิ่งไว้ก่อน จากนั้นวันต่อมาค่อยเดินแถวบ้านด้วยชุดวิ่งดู เพื่อเป็นการค่อยๆ สร้างบรรยากาศทีละนิด การเลือกเวลาสำหรับวิ่งก็สำคัญ หากคุณตั้งเป้าแล้วรีบวิ่งทันทีในตอนเช้าวันถัดไป แล้วก็ต้องรีบมาอาบน้ำเพื่อแต่งตัว แล้วก็รีบเดินทางไปทำงาน แบบนั้นจะทำให้การวิ่งกลายเป็นบทลงโทษไปมากกว่า ในทางกลับกันหากคุณจัดเวลาเพื่อวิ่ง แล้วกลับมาอาบน้ำด้วยความสบายใจ ตบท้ายด้วยช็อคโกแลตเล็กๆ สักชิ้น เชื่อสิ คุณจะทำวิ่งได้นานกว่าแบบแรกแน่ๆ 


ก้าวข้ามอุปสรรคให้ได้

แน่นอนว่าระหว่างทางเราต้องเจอกับอุปสรรคต่างๆ สิ่งแรกที่ต้องคิดไว้เสมอคือ ต่อให้เราวางแผนไว้ดีแค่ไหน การเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องยากอยู่ดี กับดักทางความคิด 5 อย่างที่คุณมักเจอ คือ 

  • มากเกินไปแล้ว หนทางยังอีกตั้งยาวไกล” หลายๆ ครั้งการมองไม่เห็นพัฒนาการ (ที่ไม่ใช่ถนน) ทำให้คุณรู้สึกท้อแท้ ลองใช้เทคนิค “จำนวนน้อย” ดู เทคนิคเน้นให้คุณซอยเป้าหมายแบบทีละเล็กละน้อยค่อยๆ เก็บไปเป็น Small Wins จะทำให้คุณเข้าถึงเป้าหมายได้ง่ายกว่าตั้งเป้าใหญ่ทีเดียว ตัวอย่างเช่น คุณตั้งเป้าไว้ว่าจะวิ่งให้ได้ 5 กิโลเมตร หากคุณวิ่งมาแล้ว 1 กิโลเมตร คุณอาจบอกตัวเองว่า รอบหน้าคุณจะวิ่งให้มากขึ้นเท่าตัวนึง เพราะฉะนั้นคราวหน้าคุณก็จะเก็บได้อีก 2 กิโลเมตร เป็นการเข้าใกล้เป้าหมายแบบเป็นไปได้ และมีความหวัง แต่ถ้าคุณไม่ซอยเป้าหมาย เมื่อคุณวิ่งมาแล้ว 1 กิโลเมตร คุณก็จะมองแค่ว่า “โห เหลืออีกตั้ง 4 กิโลที่ต้องเก็บให้ครบ”
  • ฉันพยายามจะมองโลกในแง่ดีแล้วนะ ไม่เห็นจะได้ผลเลย” Gabriele Oettingen ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ New York University ผู้เขียนหนังสือ “Rethinking Positive Thinking: Inside the New Science of Motivation.” ได้กล่าวไว้ว่า การมองโลกในแง่ดีเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้คุณถึงเป้าหมายได้ หนำซ้ำมันอาจจะรั้งคุณจากความสำเร็จด้วยซ้ำ จากการวิจัยของเธอพบว่า คนที่มองโลกในแง่ดีมักจะมัวแต่ฝันกลางวันถึงความสำเร็จมากกว่าจะทำมันออกมาให้เป็นรูปเป็นร่าง เธอจึงเสนอแนะว่า ทางที่ดีคุณต้องมองโลกในแง่ดี พร้อมๆ กับมองโลกตามความเป็นจริงควบคู่ไปด้วย ให้ลองใช้เทคนิค W.O.O.P ก็คือให้คุณนึกก่อนว่าอยากทำอะไร (Wish) มองไปที่ผลลัพธ์หากมันสำเร็จ (Outcome) จากนั้นมองหาปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง (Obstacle) สุดท้ายให้วางแผนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย (Plan)
  • ฉันทำมันให้เป็นกิจวัตรไม่ได้” หรือว่าบางทีแผนของคุณอาจจะไม่ยืดหยุ่นหรือเปล่า อย่าลืมวางแผนสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องยืดหยุ่นกับตารางบ้าง
  • ฉันรู้สึกกดดันมากเกินไปแล้ว” หากคุณมีความคิดแบบนี้ในหัว นี่อาจจะเป็นสัญญาณว่าเป้าหมายที่คุณตั้งไว้อาจจะไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ลองกลับมาคุยกับตัวเองว่า เป้าหมายนี้ คุณทำเพื่อตัวเอง หรือ คนอื่นบอกให้คุณทำกันแน่ 
  • ฉันเผลอไปแล้ว” ถ้าคุณเผลอกลับไปสู่วังวนเดิมๆ ให้ทำเป็นว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้น เช้าวันต่อมาคุณก็แค่กลับมาทำในสิ่งที่คุณกำลังพยายามอยู่ต่อไปก็แค่นั้น 

หาเพื่อนที่มีเป้าหมายเดียวกัน

จริงๆ เป็นเรื่องง่ายมากที่จะหาพรรคพวกร่วมขบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป้าหมายในช่วงปีใหม่ 

  • สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ ประกาศเป้าหมายของคุณไปเลย คุณไม่จำเป็นต้องหากลุ่มพิเศษอะไรเลย แค่มีคนสักสองสามคนที่รู้ว่าคุณกำลังตั้งใจจะทำอะไรก็เพียงพอแล้ว หรือคุณจะประกาศเป้าหมายของคุณลงในพื้นที่โซเชียลมีเดียของคุณก็ได้ แต่อาจจะต้องระวังหน่อย เพราะโซเชียลเหล่านั้นก็เหมือนดาบสองคม คุณอาจจะได้รับกำลังใจที่มากเกินไปจนไม่ทำอะไร หรือ อาจจะเจอคำแนะนำที่ไม่ต้องการจากคนที่คุณแทบจะไม่ได้คุยด้วยเลย
  • ยอมเสียอะไรบ้าง โดยเฉพาะเงิน ลองตั้งเป้าหมายที่ถ้าคุณทำไม่สำเร็จคุณจะไม่ได้รับเงินกลับมา เช่น ถ้าคุณวิ่งไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ คุณจะต้องเสียเงิน 5000 บาทให้กับน้องชายตัวดีที่บ้านเป็นต้น เวลามีเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้องจะทำให้คุณตั้งใจมากขึ้น
  • หากลุ่มคนที่มีเป้าเดียวกัน หากลุ่มคนที่มีเป้าหมายเหมือนกัน จะออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้ คุณจะได้พลังใจจากคนในกลุ่มให้เดินหน้าต่อไปไม่ลดละ
  • ตัดอิทธิพลที่ไม่ดีออกไปบ้าง แน่นอนว่าเพื่อนและครอบครัวจะคอยช่วยเป็นกำลังใจให้คุณเสมอ แต่คนภายนอกบางคนก็อาจจะไม่ได้คิดแบบนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพฤติกรรรมไม่ดีที่คุณอยากตัดทิ้ง แล้วทำให้คุณไม่สามารถมีส่วนร่วมกับพวกเขาได้ เช่น หากคุณต้องการเลิกบุหรี่ แต่ยังสุงสิงกับเพื่อนที่ยังสูบบุหรี่ แน่นอนคุณจะไปหักห้ามใจไม่ให้สูบต่อหน้าพวกเขาได้ยังไง

 หากพลาดเป้า อย่าโทษตัวเอง 

จำไว้ว่า หากคุณทำไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ คุณก็แค่ได้ประสบการณ์เพิ่ม คราวหน้าคุณก็ยังพยายามเป็นครั้งสอง สาม หรือ สามสิบก็ยังได้ ไม่สายเกินไป สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกเลยคือ อย่าโทษตัวเองมากเกินไป 

  • เริ่มต้นใหม่แบบสบายๆ อยากจะลองอีกสักรอบไหมล่ะ อย่าลืมว่า เป้าหมายไม่จำเป็นต้องผูกติดกับปีใหม่เสมอไป เพราะฉะนั้นถ้าพลาดจากปีใหม่ คุณก็แค่เริ่มใหม่พรุ่งนี้ไง หรือจะวันไหนก็ได้ที่คุณรู้สึกอยากจะเริ่มใหม่ แต่คุณไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงปีใหม่อีกรอบแล้วค่อยมาทำใหม่ก็ได้นี่
  • ใจดีกับตัวเองหน่อย มันอาจจะเป็นเรื่องปกติที่เรามักจะพูดจาให้กำลังใจตัวเองน้อยกว่าที่เราพูดกับคนอื่น แต่ถ้าคุณอยากทำเป้าหมายให้สำเร็จ คุณอาจจะต้องให้กำลังใจตัวเองให้เป็น เมื่อไหร่ที่คุณล้ม คุณจะต้องสามารถพูดกับตัวเองได้ว่า “ใช่ ฉันพลาดไป แต่ฉันจะทำยังไงต่อดีนะ” 

สุดท้ายแล้วอย่าลืมว่าการตั้งเป้าหมายจะสำเร็จไม่ได้เลยหากไม่มีก้าวแรก


อ้างอิงจาก

trending trending sports recipe

Share on

Tags