หุ่นยนต์ AI ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างไรในช่วงการระบาด?

Last updated on ธ.ค. 9, 2021

Posted on ธ.ค. 9, 2021

จากคนที่สนใจหุ่นยนต์เป็นพิเศษตั้งแต่เด็ก และฝันว่าในอนาคตจะเห็นหุ่นยนต์ในทุกบ้าน เติบโตขึ้นได้ไปศึกษา Computer Sience ได้ทำงานวิจัยด้าน AI เฉพาะทางเกี่ยวกับทำอย่างไรให้ AI มีความคิดสร้างสรรค์ได้

เก็บเกี่ยวประสบการณ์จาก ซิลิคอนวัลเลย์ เจอว่า หุ่นยนต์ส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้เลย เกิดเป็นโจทย์ที่อยากจะแก้ไข แล้วพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถสื่อสารภาษาไทย พูดภาษาไทยให้ได้ จึงก่อตั้งเป็น บริษัท ไอแอพพ์เทคโนโลยี จำกัด ขึ้นมา และพัฒนา AI ทำให้หุ่นยนต์สามารถสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ และยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วย ในช่วงโควิด 19  ได้อีกด้วย เรามาทำความรู้จัก ระบบปฏิบัติการเสียงภาษาไทย ที่ใช้ในหุ่นยนต์บริการ Service Robot กับ ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไอแอพพ์เทคโนโลยี จำกัด ธุรกิจสร้างปัญญาประดิษฐ์ ทางด้าน NLP ภาษาไทย ทำระบบปฏิบัติการเสียงภาษาไทยหุ่นยนต์ และทำ API รวมถึงพัฒนา AI ด้วย

ดร.กอบกฤตย์เล่าเสริมว่า หุ่นยนต์ดูจะเป็นเรื่องไกลตัวมาก ที่จริงแล้วทุกวันนี้เป็นเรื่องไกลตัวของเรา ใกล้ตัวที่สุดจะเป็น Smart Device หรือโทรศัพท์มือถือ ก็เป็นเครื่องมือที่มี AI ใส่เข้าไปเยอะมาก, หรือตู้เย็นที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ การที่ทำให้ ดร.กอบกฤตย์ สนใจ Service Robot เพราะ AI เหมือน วิญญาณที่ยังไม่มีร่าง ซึ่ง Service Robot เหมือนเป็นตัวแทนแท้ๆ ของ AI นั่นเอง บวกกับ passion ที่ต้องการให้หุ่นยนต์สามารถพูดคุยกับคนได้เหมือนกันคนจริงๆ จึงศึกษา วิจัย และพัฒนา ต่อยอดมาเป็น Chochae Robot OS ระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ภาษาไทย โดยอยู่ใน หุ่นยนต์ Temi Service Robot ที่มีระบบปฏิบัติการ Chatbot Engine ที่สามารถสามารถพูดคุย ถาม-ตอบกันได้ สามารถเรียกให้ไปหาได้นำทางได้ และในโรงพยาบาลที่ใช้กันมากก็คือ ให้หุ่นยนต์เป็นตัวแทนคน (Hospital Robot Assistant) เพื่อทำการพูดคุย ตรวจคนไข้ ผ่าน Service Robot นี้ได้ เป็นประโยชน์กับวงการ Healthcare มาก สามารถ Teleconference, วัดอุณหภูมิ, วัดความดัน, วัดไข้, ส่งของให้ผู้ป่วย ลดการติดเชื้อ เป็นต้น


เราสามารถเปลี่ยนเสียงของหุ่นยนต์ได้หรือไม่

ดร.กอบกฤตย์ได้ให้คำตอบมาว่า สามารถทำได้ เนื่องจากภาษาไทยไม่มีใน Service Robot เลย ทำให้เราต้องเริ่มพัฒนา ตั้งแต่ Conversation และเสียงด้วย สิ่งที่พัฒนาตอนนี้ จะมีเสียงผู้หญิง เสียงเด็กผู้ชาย รวมไปถึงเสียงของดาราด้วย และทางเรามีบริการสร้างเสียงด้วย โดยเราจะมี Script ให้ ความยาวประมาณ 4 ชั่วโมง เป็นประโยคภาษาไทย 2,000 ประโยค ทางเราจะ Train ประมาณ 1 สัปดาห์ สามารถนำมาทำหนัง ตัดต่อ เป็นประโยชน์กับวงการภาพยนตร์ และสามารถนำไปใส่ในหุ่นยนต์ได้เลย


นอกจาก Healthcare ยังสามารถใช้หุ่นยนต์กับอุตสาหกรรมไหนได้อีกบ้าง

ดร.กอบกฤตย์ ยกตัวอย่างเป็นอุตสาหกรรม Retail ห้างสรรพสินค้า ICON Siam และ Emporium ในช่วง Covid-19 หุ่นยนต์จะมีที่พ่นแอลกอฮอล์อยู่ด้านหลัง และก็วัดไข้คนที่เดินไปเดินมาได้เลย ถ้าพบเจอคนมีไข้สูงจะ alert ไปที่ LINE ของทางห้างสรรพสินค้า แล้วก็อุตสาหกรรม MICE  มีหุ่นยนต์ไปเปิดงาน เป็นพิธีกรร่วมกับพิธีกรที่เป็นคน เป็นต้น ดร.ชาญ​วิทย์ เสริมต่ออีกว่าหุ่นยนต์ยังสามารถ ไปช่วยขายของ ไปเป็น รปภ ไปส่งของ ได้อีกด้วย 

ดร.กอบกฤตย์ อธิบายเพิ่มเติมให้ฟังว่าตอนนี้เรายังอยู่ในยุค ASI Artificial Specific Intelligence ที่มี AI เฉพาะด้านเก่งเต็มไปหมด แต่ยังไม่สามารถรวมทุกอย่างในตัวเดียวในตอนนี้ สามารถทำได้ทุกอย่างเหมือนมนุษย์ ถ้าเราสามารถหา model ที่สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ตลอดเวลาเหมือนมนุษย์ ก็จะเข้าระดับ AGI Artificial General Intelligence ส่วนตัวและคิดว่าอีกไม่นาน เราน่าจะไปถึงจุดนั้นได้เร็วมาก เพราะ AI เติบโตเร็วมากในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ ในอนาคตเราอาจจะเป็นเพื่อนกับหุ่นยนต์ได้ ในจุดที่ AI จะชนะความฉลาดของมนุษย์ทั้งโลกรวมกัน จากหลายๆ งานวิจัยบอกว่าน่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2030 

สรุปได้ว่าในปัจจุบันหุ่นยนต์ รวมถึง AI ปัญญาประดิษฐ์ ได้เข้ามามีบทบาท และอยู่รอบตัวเรามาสักระยะแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับ หุ่นยนต์ Service Robot ทึ่ฉลาดเหมือนมนุษย์ พร้อมที่จะช่วยเหลือ และเป็นเพื่อนเราก็ได้


ดร.กอบกฤตย์ ยังฝาก AI ภาษาไทย คนไทยทำ คนไทยได้ใช้ 

หากใครสนใจอยากได้หุ่นยนต์ประจำบ้าน หรือช่วยผู้ป่วยที่ รพ. ก็เข้ามาสนับสนุน iapp.co.th หรือใครมีงานอะไรให้ AI ช่วยทำ OCR เอกสาร ทำ Face Recognition หรืออยากซื้อ AI อ่านป้ายทะเบียนรถ ติดต่อได้ที่เว็บ  https://ai.iapp.co.th


พร้อมรับชมรายการเต็ม หุ่นยนต์​ช่วยเหลือผู้ป่วยในช่วงโควิด19​ อย่างไร และแวะมาพูดคุยเพิ่มเติมกันได้ที่เฟซบุ๊ค Creative Talk

trending trending sports recipe

Share on

Tags